ปลาบู่......กับการแบ่งปัน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ครั้งที่ 2 แล้ว ได้ปลาจากการดักไซแห้ง วันนี้ได้ปลาบู่ทอง 1 ตัว ปลาหมออีก 3 ตัว และปลาแก้มช้ำอีก 1 ตัว

ความสุขในวันนี้ก็คือ ปลาที่ได้ ได้ให้พ่อไปทำกับข้าวได้อีก 1 มื้อ ความรู้สึกนี้อิ่มยิ่งกว่ากินเองเสียอีก "นี่คือความสุขที่ได้แบ่งปัน"

โชคดีคะ ที่บ้านอยู่ติดคลอง นี่โครงการต่อไปจะดักปลาไหลดู ต้องไปหากระบอกไม้ไ่ผ่ก่อน คอยติดตามนะคะ

ความเห็น

ปลาบู่ ยังไม่เคยลองกินที หรอยหม้ายละคะ

นำปลาบู่ตัวขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กมานึ่งมะนาวรองด้วยผักในสวนที่มีน้ำจิ้มรสแซ่บหรอยอย่าบอกใคร..อ้อต้องบอกต่อ (แกะออกมาเนื้อปลาบู่จะขาวจั๊วะ)แล้วจะติดใจครับ

 การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ

รดชาติก็เหมือนปลาช่อนนั่นแหละ สด ๆ เนื้อหวาน :uhuhuh:

เข้าใจว่า "ดักไซแห้ง" เป็นแค่สำนวน สรุปว่า เป็นวิธีการจับปลาจริง ๆ หรือนี่:sweating:

ใช่แล้วคะ ไม่ต้องใส่อาหาร หรือปู ล่อปลาเลย :uhuhuh: :uhuhuh:

เก่งจริงๆนะครับแบบนี้ประหยัดค่ากับข้าวจริงๆด้วย คราวหน้าขอให้ได้ปลาเยอะๆนะครับ


คะ :bye: :bye:

ปลาแก้มชํ้าเป็นไงพี่สาว ไม่เคยได้ยินชื่อเลย ปลาโดนต่อยแก้มหรือเปล่า(ล่อเล่นน่าพี่)คริ คริ

ชีวิตไม่ได้เกิดมา เพื่อยอมแพ้

ตระกูลเดียวกับปลาตะเพียนคะ :uhuhuh:

ปลาแก้มช้ำ



 




ปลาแก้มช้ำ


  • ชื่อไทย แก้มช้ำ ขาวสมอมุก ปก ปกส้ม ลาบก หางแดง

  • ชื่อสามัญ RED - CHEEK BARB

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius orphoides
ถิ่นอาศัย พบ ทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุก เรียกกันในแถบภาคอีสาน




  • ลักษณะทั่วไป รูป ร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่ป้อมกว่า ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก 2 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มมีแต้มสีส้มหรือแดงเรื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดงเรื่อ ครีบหางสีแดงสดจะมีแถบสีคล้ำทั้งขอบบนและล่าง ที่โคนหางมีจุดกลมสีคล้ำ




  • เป็น ปลาที่มี สีสรรสวยงาม เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวและท้องมีสีขาวเงิน ขอบหลังของ กระพุ้งแก้ม มีรอยสีแดงเรื่อ ๆ หลังช่องเหงือกมีแถบ หรือแต้มสีดำด้านละ 1 แถบ ครีบหางมีสีแดงขอบบน และ ขอบล่าง ของแพนหาง มีแถบสีดำ




  • การสืบพันธุ์ สามารถ เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดปลา 3 ชั่วโมง ปลาตัวผู้จะเริ่มคลอเคลียตัวเมีย จึงจับมาทำการผสมเทียมแบบแห้ง แล้วนำไปฟักโดยให้เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือรังเทียม จะใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 20 - 22 ชั่วโมง หรือเพาะโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังฉีดฮอร์โมน 5 - 6 ชั่วโมง ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่ติด สีเหลืองใส




  • อาหารธรรมชาติ กินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย แพลงค์ตอน ตัวอ่อนของแมลง

  • ข้อมูลดีจาก http://jawnoyfishing.blogspot.com/2008/12/blog-post_26.html ครับ

ถ้าเดินเรื่อยไป ย่อมถึงปลายทาง

หน้า