แหล่งน้ำ องค์ประกอบที่สำคัญของการติดตั้งระบบน้ำ
แหล่งน้ำ องค์ประกอบที่สำคัญของการติดตั้งระบบน้ำ ต่อเนื่องจากบล็อค
คิดจะทำระบบให้น้ำแก่พืช ต้องมีอะไรบ้าง
คิดจะทำการเพาะปลูก ถ้าไม่มีแหล่งน้ำ ควรหยุดคิดทำการเพาะปลูกได้เลย
แหล่งน้ำ พอจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
1. แหล่งน้ำสำรองน้ำ น้ำที่ได้จากแหล่งเหล่านี้ ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ สูบขึ้นมาใช้ จึงจะทำให้น้ำมีแรงดัน เช่น อ่างน้ำธรรมชาติ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล คลองชลประทาน ถังเก็บน้ำ บ่อสำรองพีอี
อ่างน้ำ ไม่ว่าธรรมชาติ หรือ ขุด
ถังเก็บน้ำ ปัจจุบันนิยมใช้ทั้งแบบโลหะ ไฟเบอร์
ภาพโครงเหล็กแบบน็อคดาวน์ ของบ่อสำรองพีอี
ปูพื้นและขอบรอบข้างด้วยแผ่นพลาสติก
2. แหล่งน้ำต้นกำลัง คือแหล่งน้ำที่ น้ำนั้นมีแรงดันอยู่แล้วเนื่องจากที่ตั้งอยู่สูงกว่าพื้นที่เพาะปลูก จึงไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ เปิดน้ำเข้าระบบก็มีแรงดันพอพียงแล้ว เช่น น้ำจากระบบประปา แท้งค์สูง หรือจากอ่างน้ำที่อยู่บนยอดเขา ปล่อยน้ำมาใช้พื้นที่ด้านล่าง ฯลฯ ฉะนั้นน้ำประปาทุกแหล่งสามารถเปิดเข้าระบบน้ำได้เลย โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ
ภาพหอประปา
ระบบประปา ต่อน้ำจากประตุน้ำหรือก็อกน้ำ เข้าระบบการให้น้ำได้เลย
คุณภาพน้ำในระบบการให้น้ำแก่พืช
ที่สำคัญที่สุด คือไม่มีตะกอน ดังนั้นอาจต้องใช้ระบบกรองน้ำช่วย ในแหล่งน้ำบางแหล่ง
-แหล่งน้ำที่ต้องใช้ระบบการกรอง เช่น น้ำคลองที่ขุ่น น้ำในอ่างสาธารณะที่มีเศษใม้ เศษหญ้าปะปนอยู่ น้ำในคลองชลประทาน
-แหล่งน้ำที่ไม่ต้องใช้ระบบกรอง เช่น น้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล
ขนาดของแหล่งน้ำที่จะใช้ได้พอเพียง
-ถ้าใช้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ขุดอ่างน้ำ 30% ของพื้นที่ เช่น มี พื้นที่ 10 ไร่ ขุดอ่างน้ำ 3 ไร่ เป็นต้น
-คลองน้ำไหลผ่านตลอดปี
-ขนาดของสระน้ำ คิดจากความลึกของน้ำ X ความยาว X ความกว้างของสระ จะได้ปริมาตรน้ำ ฉะนั้นมีต้นไม้กี่ต้น ใช้ต้นละเท่าใด/วัน ช่วงหน้าแล้งกี่วัน จะต้องให้น้ำกี่วัน ก็จะทราบว่า น้ำพอใช้หรือไม่
ตัวอย่างง่ายๆ
-ปลูกไม้ดอกสวนหลังบ้าน(อยู่ในเขตการประปาภูมิภาค) ½ ไร่ ติดตั้งระบบน้ำต่อกับประปาได้เลย
-อยู่ในสวนนอกเขตประปา อาจใช้น้ำบ่อตื้น อ่างน้ำ สระน้ำ สูบด้วยเครื่องสูบน้ำเข้าระบบการให้น้ำ
-มีสวนทุเรียนบนควนเขา น้ำไม่มี ฤดูร้อนต้องบรรทุกน้ำไปฉีดรด วันละ 4 เที่ยว จึงจะพอ ให้ทำบ่อสำรองพีอี บรรทุกน้ำใส่รถเติมลงบ่อสำรองพีอี แล้วใช้ปัมป์สุบน้ำจากบ่อสำรองเข้าระบบการให้น้ำ
- บล็อกของ นายบุญลือ
- อ่าน 18077 ครั้ง
ความเห็น
ลุงพูน
15 กรกฎาคม, 2010 - 21:19
Permalink
ถังประปานี้คุ้นๆอยู่นะครับ
ถังประปานี้คุ้นๆอยู่นะครับ ยังใช้ได้หรือครับ
นายบุญลือ
16 กรกฎาคม, 2010 - 07:45
Permalink
ยังใช้อยู่ครับ
จนถึงวันนี้ ถังนี้ น่าจะมีอายุ 38 ปี แล้ว ลุงพูนและผม น่าจะได้ใช้น้ำจากถังนี้ รวมเวลาใกล้เคียงกันมาก ต้องขอบคุณถังประปาถังนี้ ขณะนี้ยังคงรับใช้ชาวราชภัฏภูเก็ตอยู่ครับ
ไม้หอม
16 กรกฎาคม, 2010 - 03:37
Permalink
ขอบคุณ อ.บุญลือ
ขอบคุณ อ.บุญลือ สำหรับคำแนะนำครับ
ถามหน่อยนะครับ ถ้ามีแท้งค์เก็บน้ำวงท่อชีเมนต์สูงประมาณ 4-6 เมตร จำเป็นต้องติดปั้มน้ำอีกหรือเปล่าครับ กับพื้นที่ขนาด 3-5 ไร่ ใช้หัวสปริงเกอร์ และการคำนวนหาขนาดของท่อเมนใช้ในสวน มีวิธีการคำนวนหาอย่างไรครับ
วิหคน้อยบินไกล เฝ้ารอวันกลับคืนถิ่น
นายบุญลือ
16 กรกฎาคม, 2010 - 07:38
Permalink
ไม่ต้องใช้ครับ ถ้าติดตั้งหัวฉีดฝอย(สเปรย์ หรือมินิสปริงเกลอร์)
คุณไม้หอมครับ การคำนวณหาขนาดท่อเมน สำหรับแท้งค์สูง 4-6 เมตรนั้น ต้องทราบ
1.ตำแหน่งแท้งค์ อยู่จุดใดของสวน
2.ความกว้างยาวของสวน
3.ท่อย่อยที่ใช้ เส้นหนึ่งยาวเท่าใด ติดหัวน้ำ กี่หัว
ฯลฯ
สำหรับแท้งค์สูง 4-6 เมตร ถ้าติดหัวมินิปสริงเกลอร์ หรือหัวเจ็ทสเปรย์ ซึ่งน้ำออกน้อย ชั่วโมงละ 60-120 ลิตร/หัว และติดบนท่อย่อย(พีอี 20 มม.) เส้นละ 4-5 หัว ท่อย่อยยาวเส้นละ 20 เมตร ไม่ต้องใช้ปัมป์ ต่อน้ำจากแท้งค์ เข้าระบบเลย มีแรงดันน้ำพอครับ
ป้าเล็ก..อุบล
16 กรกฎาคม, 2010 - 07:54
Permalink
ชอบแนวคิด อ. บุญลือ
ชอบแนวคิด อ. บุญลือ นึกถึงตอนเด็ก ใช้บ่อโยก ส่งน้ำขึ้นแท็งค์ แล้วใช้น้ำกันทั้งโรงเรียน ตอนนี้ ก็อยากให้ใช้กังหันลม ต่อปั๊มน้ำ หรือปั๊มโยกแล้วเอาน้ำขึ้นมา ต่อเข้าท่อย่อยถึงต้นไม้เลย
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
ไม้หอม
17 กรกฎาคม, 2010 - 06:20
Permalink
ขอบคุณครับ อ.บุญลือ
ขอบคุณครับ อ.บุญลือ
วิหคน้อยบินไกล เฝ้ารอวันกลับคืนถิ่น
แดง อุบล
16 กรกฎาคม, 2010 - 09:09
Permalink
อ.บุญลือ
ขอบคุณอ.บุญลือ ค่ะ
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
ตั้ม
17 กรกฎาคม, 2010 - 06:40
Permalink
ขาดน้ำ..ก็..ขาดใจ
คิดอยู่เหมือนกันว่า หากไปอยู่บ้านสวน จะทำระบบน้ำอย่างไร ที่ง่ายที่สุดคือสูบตรงจากห้วย แต่ห่วงหน้าแล้ง (ทุกปีมีน้ำตลอด ปีนี้มีเป็นหย่อมๆ) แรกๆว่าจะขุดสระ ตอนหลังมาคิดใหม่ซื้อที่อีกฝั่งห้วย แล้วปรับห้วยใหม่ให้ลึกและกว้าง (เฉพาะที่ของเรานะประมาณทั้งหมดห้าร้อยกว่าเมตร ตอนนี้ซื้อได้เพียงร้อยกว่าเมตร คิดว่าน่าจะซื้อได้อีกสัก 100 เมตร ที่เหลือเจ้าของเดิมไม่ขายแน่นอน) ทำฝายกั้นน้ำ..เรียนถามผู้รู้ว่า จะมีปัญหาอะไรบ้างมั๊ยครับ ทั้งในแง่กฏหมาย ทั้งในแง่สังคม ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
นายบุญลือ
17 กรกฎาคม, 2010 - 12:48
Permalink
จำเป็นต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง
จากที่คุณตั้มบอกมาว่า หน้าร้อนปีนี้ มีน้ำเป็นหย่อมๆ แสดงว่าหน้าร้อนปีนี้ยังมีน้ำใต้ดินอยู่ที่ระดับก้นห้วย ดังนั้นจึงต้องหาวิธีเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ทำ 2 ขั้นตอน
1. หาน้ำจากห้วยมาใช้ในหน้าแล้งให้ได้ ทำดังนี้
ถ้าห้วยผ่านริมสวนของเรา ให้วางแผนขุดบ่อน้ำตื้น ในห้้วยในช่วงหน้าร้อนปีหน้า ใช้ขอบบ่อขนาดสัก 1 เมตร ลึกลงไวัสัก 2-3 ขอบบ่อ เท่ากับขุดลึก 1-1.5 เมตร จากก้นห้วย น้ำก็จะไหลมารวมที่บ่อ เราสามารถดูดไปใช้ได้ ไม่เดือดร้อนคนอื่น เพราะในห้วยไม่มีน้ำอยู่แล้ว หลักการนี้คล้ายๆ ลอกห้วยให้ลึกอีก 1-1.5 เมตร นั้นเอง
2. เก็บสำรองน้ำจากข้อ1 ไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ทำดังนี้
ทำบ่อสำรองพีอี ตามที่ผมได้แนะนำ(ถ้ากว้าง X ยาว =5X5 เมตร สุง 1 เมตร จะมีน้ำสำรองไว้วันละ 25 ลูกบาศก์เมตร นะครับ) แล้วสูบน้ำจากบ่อที่เราขุดตามข้อ1 มาเก็บไว้ในบ่อสำรองพีอีเรื่อยๆ วันละหลายครั้ง ตามจำนวนน้ำที่ไหลขึ้นมาในบ่อ ก็จะมีน้ำเก็บไว้ใช้ได้ทุกวัน
***หลักสำคัญ ต้องหาวิธีการให้ได้น้ำ วิธีการเก็บสำรองน้ำ โดยเฉพาะเริ่มเข้าหน้าแล้ง***
เมื่อมีน้ำ และเก็บน้ำได้ จะใช้อย่างไร วิธีใด หมูมากครับ