แหล่งน้ำ องค์ประกอบที่สำคัญของการติดตั้งระบบน้ำ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

แหล่งน้ำ  องค์ประกอบที่สำคัญของการติดตั้งระบบน้ำ  ต่อเนื่องจากบล็อค  

                                                               คิดจะทำระบบให้น้ำแก่พืช ต้องมีอะไรบ้าง

     คิดจะทำการเพาะปลูก    ถ้าไม่มีแหล่งน้ำ ควรหยุดคิดทำการเพาะปลูกได้เลย

แหล่งน้ำ  พอจะแบ่งได้เป็น 2  กลุ่มใหญ่ๆ

1.  แหล่งน้ำสำรองน้ำ   น้ำที่ได้จากแหล่งเหล่านี้  ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ สูบขึ้นมาใช้  จึงจะทำให้น้ำมีแรงดัน  เช่น  อ่างน้ำธรรมชาติ  บ่อน้ำตื้น  บ่อบาดาล  คลองชลประทาน   ถังเก็บน้ำ  บ่อสำรองพีอี


                        อ่างน้ำ  ไม่ว่าธรรมชาติ หรือ ขุด 

    ถังเก็บน้ำ  ปัจจุบันนิยมใช้ทั้งแบบโลหะ  ไฟเบอร์

              ภาพโครงเหล็กแบบน็อคดาวน์  ของบ่อสำรองพีอี

                        ปูพื้นและขอบรอบข้างด้วยแผ่นพลาสติก

                               

2.  แหล่งน้ำต้นกำลัง  คือแหล่งน้ำที่  น้ำนั้นมีแรงดันอยู่แล้วเนื่องจากที่ตั้งอยู่สูงกว่าพื้นที่เพาะปลูก  จึงไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ    เปิดน้ำเข้าระบบก็มีแรงดันพอพียงแล้ว  เช่น  น้ำจากระบบประปา   แท้งค์สูง  หรือจากอ่างน้ำที่อยู่บนยอดเขา  ปล่อยน้ำมาใช้พื้นที่ด้านล่าง  ฯลฯ  ฉะนั้นน้ำประปาทุกแหล่งสามารถเปิดเข้าระบบน้ำได้เลย  โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ


                 ภาพหอประปา

ระบบประปา  ต่อน้ำจากประตุน้ำหรือก็อกน้ำ เข้าระบบการให้น้ำได้เลย 

 

คุณภาพน้ำในระบบการให้น้ำแก่พืช

                ที่สำคัญที่สุด  คือไม่มีตะกอน  ดังนั้นอาจต้องใช้ระบบกรองน้ำช่วย ในแหล่งน้ำบางแหล่ง

                -แหล่งน้ำที่ต้องใช้ระบบการกรอง  เช่น  น้ำคลองที่ขุ่น    น้ำในอ่างสาธารณะที่มีเศษใม้ เศษหญ้าปะปนอยู่  น้ำในคลองชลประทาน

                -แหล่งน้ำที่ไม่ต้องใช้ระบบกรอง  เช่น  น้ำจากบ่อน้ำตื้น  บ่อบาดาล 

ขนาดของแหล่งน้ำที่จะใช้ได้พอเพียง

                -ถ้าใช้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่  ขุดอ่างน้ำ 30% ของพื้นที่  เช่น  มี พื้นที่ 10  ไร่  ขุดอ่างน้ำ 3 ไร่  เป็นต้น

                -คลองน้ำไหลผ่านตลอดปี

                -ขนาดของสระน้ำ  คิดจากความลึกของน้ำ X ความยาว X ความกว้างของสระ  จะได้ปริมาตรน้ำ  ฉะนั้นมีต้นไม้กี่ต้น  ใช้ต้นละเท่าใด/วัน  ช่วงหน้าแล้งกี่วัน    จะต้องให้น้ำกี่วัน  ก็จะทราบว่า น้ำพอใช้หรือไม่

ตัวอย่างง่ายๆ  

-ปลูกไม้ดอกสวนหลังบ้าน(อยู่ในเขตการประปาภูมิภาค)  ½ ไร่  ติดตั้งระบบน้ำต่อกับประปาได้เลย

-อยู่ในสวนนอกเขตประปา  อาจใช้น้ำบ่อตื้น อ่างน้ำ สระน้ำ  สูบด้วยเครื่องสูบน้ำเข้าระบบการให้น้ำ

-มีสวนทุเรียนบนควนเขา  น้ำไม่มี  ฤดูร้อนต้องบรรทุกน้ำไปฉีดรด วันละ 4 เที่ยว จึงจะพอ  ให้ทำบ่อสำรองพีอี   บรรทุกน้ำใส่รถเติมลงบ่อสำรองพีอี  แล้วใช้ปัมป์สุบน้ำจากบ่อสำรองเข้าระบบการให้น้ำ

ความเห็น

ถังประปานี้คุ้นๆอยู่นะครับ ยังใช้ได้หรือครับ

  จนถึงวันนี้ ถังนี้  น่าจะมีอายุ 38 ปี แล้ว  ลุงพูนและผม  น่าจะได้ใช้น้ำจากถังนี้  รวมเวลาใกล้เคียงกันมาก  ต้องขอบคุณถังประปาถังนี้  ขณะนี้ยังคงรับใช้ชาวราชภัฏภูเก็ตอยู่ครับ

ขอบคุณ อ.บุญลือ สำหรับคำแนะนำครับ

ถามหน่อยนะครับ ถ้ามีแท้งค์เก็บน้ำวงท่อชีเมนต์สูงประมาณ 4-6 เมตร จำเป็นต้องติดปั้มน้ำอีกหรือเปล่าครับ กับพื้นที่ขนาด 3-5 ไร่ ใช้หัวสปริงเกอร์ และการคำนวนหาขนาดของท่อเมนใช้ในสวน มีวิธีการคำนวนหาอย่างไรครับ

วิหคน้อยบินไกล เฝ้ารอวันกลับคืนถิ่น

คุณไม้หอมครับ  การคำนวณหาขนาดท่อเมน  สำหรับแท้งค์สูง 4-6 เมตรนั้น  ต้องทราบ

 1.ตำแหน่งแท้งค์  อยู่จุดใดของสวน

 2.ความกว้างยาวของสวน

 3.ท่อย่อยที่ใช้  เส้นหนึ่งยาวเท่าใด  ติดหัวน้ำ กี่หัว

             ฯลฯ

สำหรับแท้งค์สูง 4-6 เมตร  ถ้าติดหัวมินิปสริงเกลอร์ หรือหัวเจ็ทสเปรย์ ซึ่งน้ำออกน้อย  ชั่วโมงละ 60-120 ลิตร/หัว และติดบนท่อย่อย(พีอี 20 มม.)  เส้นละ 4-5 หัว  ท่อย่อยยาวเส้นละ 20 เมตร  ไม่ต้องใช้ปัมป์  ต่อน้ำจากแท้งค์ เข้าระบบเลย  มีแรงดันน้ำพอครับ 

 


ชอบแนวคิด  อ.  บุญลือ   นึกถึงตอนเด็ก  ใช้บ่อโยก  ส่งน้ำขึ้นแท็งค์   แล้วใช้น้ำกันทั้งโรงเรียน  ตอนนี้  ก็อยากให้ใช้กังหันลม  ต่อปั๊มน้ำ  หรือปั๊มโยกแล้วเอาน้ำขึ้นมา  ต่อเข้าท่อย่อยถึงต้นไม้เลย

ขอบคุณครับ อ.บุญลือ

วิหคน้อยบินไกล เฝ้ารอวันกลับคืนถิ่น

ขอบคุณอ.บุญลือ ค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

คิดอยู่เหมือนกันว่า หากไปอยู่บ้านสวน จะทำระบบน้ำอย่างไร ที่ง่ายที่สุดคือสูบตรงจากห้วย แต่ห่วงหน้าแล้ง (ทุกปีมีน้ำตลอด ปีนี้มีเป็นหย่อมๆ) แรกๆว่าจะขุดสระ ตอนหลังมาคิดใหม่ซื้อที่อีกฝั่งห้วย แล้วปรับห้วยใหม่ให้ลึกและกว้าง (เฉพาะที่ของเรานะประมาณทั้งหมดห้าร้อยกว่าเมตร ตอนนี้ซื้อได้เพียงร้อยกว่าเมตร คิดว่าน่าจะซื้อได้อีกสัก 100 เมตร ที่เหลือเจ้าของเดิมไม่ขายแน่นอน) ทำฝายกั้นน้ำ..เรียนถามผู้รู้ว่า จะมีปัญหาอะไรบ้างมั๊ยครับ ทั้งในแง่กฏหมาย ทั้งในแง่สังคม ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

    จากที่คุณตั้มบอกมาว่า หน้าร้อนปีนี้ มีน้ำเป็นหย่อมๆ  แสดงว่าหน้าร้อนปีนี้ยังมีน้ำใต้ดินอยู่ที่ระดับก้นห้วย   ดังนั้นจึงต้องหาวิธีเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง  ทำ 2  ขั้นตอน

1.  หาน้ำจากห้วยมาใช้ในหน้าแล้งให้ได้  ทำดังนี้ 

    ถ้าห้วยผ่านริมสวนของเรา  ให้วางแผนขุดบ่อน้ำตื้น ในห้้วยในช่วงหน้าร้อนปีหน้า  ใช้ขอบบ่อขนาดสัก 1 เมตร  ลึกลงไวัสัก 2-3  ขอบบ่อ เท่ากับขุดลึก 1-1.5 เมตร  จากก้นห้วย  น้ำก็จะไหลมารวมที่บ่อ  เราสามารถดูดไปใช้ได้  ไม่เดือดร้อนคนอื่น เพราะในห้วยไม่มีน้ำอยู่แล้ว  หลักการนี้คล้ายๆ  ลอกห้วยให้ลึกอีก 1-1.5 เมตร นั้นเอง

2.  เก็บสำรองน้ำจากข้อ1 ไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง  ทำดังนี้

     ทำบ่อสำรองพีอี ตามที่ผมได้แนะนำ(ถ้ากว้าง X ยาว =5X5 เมตร สุง 1 เมตร  จะมีน้ำสำรองไว้วันละ 25 ลูกบาศก์เมตร นะครับ)  แล้วสูบน้ำจากบ่อที่เราขุดตามข้อ1 มาเก็บไว้ในบ่อสำรองพีอีเรื่อยๆ  วันละหลายครั้ง ตามจำนวนน้ำที่ไหลขึ้นมาในบ่อ  ก็จะมีน้ำเก็บไว้ใช้ได้ทุกวัน

***หลักสำคัญ  ต้องหาวิธีการให้ได้น้ำ  วิธีการเก็บสำรองน้ำ โดยเฉพาะเริ่มเข้าหน้าแล้ง***

เมื่อมีน้ำ  และเก็บน้ำได้  จะใช้อย่างไร วิธีใด   หมูมากครับ