probiotic
เมื่อเช้ารับชมรายการทีวี ช่อง FM-TV เขาพูดถึง Probiotic และยกตัวอย่างว่าหลายชาติ เขามีอาหารที่เป็น Probiotic เช่น
เกาหลี ก็มี กิมจิ
ญี่ปุ่น ก็มี มิโส๊ะ
อินเดีย ปากีสถาน ก็มี โยเกิร์ต
เมืองไทย ก็มี แป้งข้าวหมาก
กิมจิ ก็เป็นผักดอง มิโส๊ะ เข้าใจว่า คล้ายๆ เต้าเจี้ยว ส่วนโยเกิร์ตนั้น ก็เป็นของอินเดีย ปากีสถาน แต่ที่ทำขายกันในเมืองไทย ชี่เป็นฝรั่ง กับญี่ปุ่น และแป้งข้าวหมาก ทำมากๆ ตำรวจจับ ลูกแป้งข้าวหมาก ก็จับ
โยเกิร์ต จะเป็นหนึ่งในอาหารเช้า ปกติก็ซื้อ แต่ทำเองก็ได้ ง่ายจัง ใครอยากทำ ยกมือขึ้น
แป้งข้าวหมาก นี่ก็ของชอบ แต่ไม่ได้กินทุกวัน วันไหนในตลาดเขาทำมาขายก็จะซื้อมาใส่ตู้เย็นไว้กิน บางทีเก็บไว้หลายวัน น้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์ ก็อร่อยไปอีกแบบ
กิมจิ กับ มิโส๊ะ เป็นอย่างไร ขอเชิญชาวบ้านสวนพอเพียง ช่วยกันบรรเลงต่อครับ
- บล็อกของ ลุงพูน
- อ่าน 10746 ครั้ง
ความเห็น
จันทร์เจ้า
18 กรกฎาคม, 2010 - 20:08
Permalink
ลุงพูน
นมสดจากเต้า มีทาบอระเพ็ด ด้วยหรือคะ อิอิ
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
ลุงพูน
18 กรกฎาคม, 2010 - 20:12
Permalink
คุณจันทร์เจ้า
เวลาจะให้ลูกหย่านมไงครับ เด็กบางคนก็บอกแม่ว่า ไปเช็ดก่อน (รู้อีก)
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
18 กรกฎาคม, 2010 - 12:03
Permalink
ขอบคุณค่ะ ลุง
หนูก็จะลองทำสุตรของลุงดูด้วยค่ะ
น่าจะได้รสชาดที่ดีกว่า ไม่เปรียวมาก
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
17 กรกฎาคม, 2010 - 23:38
Permalink
ได้ค่ะลุง
ที่บ้าน เคยลองใช้ ยาคูลท์ เป็นหัวเชื้อแทนโยเกิร์ต ก็ใช้ได้ดีเช่นเดียวกันค่ะ
ลุงพูน
19 กรกฎาคม, 2010 - 20:07
Permalink
kk
โยเกิร์ตที่ได้ เป็นแบบ ยาคูลท์ หรือ แบบครีม ครับ
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
17 กรกฎาคม, 2010 - 23:06
Permalink
ต่างกันเล็กน้อย ค่ะลุง
ตอนที่ตุ๋นนมเสร็จแล้ว ให้ยกขึ้นมาพักให้เย็นโดยเร็ว ด้วยการแช่ในกาละมังน้าเย็น(วิธีนี้ คือ พลาสเจอไรส์)แล้วรอจนเย็น
เย็นแล้วค่อยเติมโยเกริตลงไป ไม่งั้นเชื้ออาจตายไปค่ะ
เอาใส่แก้วแล้วปิดฝาไว้ให้มันเกิดขบวนการหมัก ตั้งไว้เฉยๆ ซัก1คืน(ประมาณ6ชั่วโมง)
แล้วเอาเข้าตู้เย็น
สำหรับโยเกิร์ตที่ทำเอง รสชาดจะต่างจากที่ขายจะเปรี๊ยวกว่ามาก คนที่เพิ่งเริ่มหัดทาน ควรเติมผลไม้ลงไปเวลาจะรับประทานค่ะ
ถ้าหากรู้สึกเปรี๊ยวมาก ทานไม่ไหว ให้เติมน้ำผึ้งได้
สรุปว่า สูตรของkk ไม่เปรี๊ยวมากนะคะลุง
มี honey hony ด้วยอ่ะคร้า
ลุงพูน
17 กรกฎาคม, 2010 - 23:18
Permalink
คุณแก้ว
ตามที่ทราบมา เชื้อนี้เป็นพวก Thermophilic bacteria ชอบความร้อนนิดหน่อย ปกติเขาจะบ่มที่อุณหภูมิ 60 องศา แต่อขงผมตั้งให้แช่ในน้ำร้อนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งน้ำเริ่มอุ่นและเย็น เลยใช้เวลาน้อยกว่า แต่ถ้าใช้เวลานานแบบของคุณกุ้ง เลยทำให้เปรี้ยว หากใช้เวลาบ่มน้อยกว่านี้จะไม่เปรี้ยวมาก ถ้าใช้นมหวาน จะได้โยเกิร์ตรสหวาน ไม่ต้องเติมน้ำตาล
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
17 กรกฎาคม, 2010 - 23:23
Permalink
มิโซะ
น่าจะคล้าย เต้าเจี้ยว ใช้ถั่วเหลืองมาหมัก
ข้อมูลที่ชัดเจน ว่าหมักยังไง อาจต้องถามสาวๆแดนไกลค่ะ
คุณอิ๋ว คุณแป๋ว คงรู้ดีกว่าkk
ลุงพูน
17 กรกฎาคม, 2010 - 23:27
Permalink
รอความรู้จากแดนอาทิตย์อุทัยคร
รอความรู้จากแดนอาทิตย์อุทัยครับ
มาย
18 กรกฎาคม, 2010 - 14:56
Permalink
มิโซ (Miso)
มิโซ เป็นผลผลิตที่ทำมาจากถั่วเหลือง ได้มาจากการนำถั่วเหลืองมาหมักค่ะ
ส่วนกรรมวิธีการหมักนี้ ต้องขอโทษด้วยค่ะ ไม่ทราบจริงๆ
เพราะมิโซแต่ละชนิดจะมีขั้นตอนการผลิตแตกต่างกันไป
แต่สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. โกเมะ มิโซ เป็นมิโซที่หมักโดยใช้เชื้อราแอสเปอร์จิรัส
-ไคโอมิโซ จะมีรสหวาน สีขาว
-อินากะ มิโซ มีรสเค็ม สีเหลือง
-อะกา มิโซ มีรสเค็ม สีแดง
2. มูกิ มิโซ เป็นมิโซที่หมักกับข้าวบาเล่ย์ มีสีแดงปนน้ำตาล
3. มามิเอะ มิโซ เป็นมิโซที่มีโปรตีนมากที่สุด มีสีน้ำตาลเข้ม
อันนี้นิยมใช้คู่กับอะกามิโซ เวลาทำซุป
there is a will , there is a way .
หน้า