ในถังนี้ ... มีอะไร ?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     “ถัง” ... ใบที่มีภาพปรากฏอยู่ด้านบนนั้น ... ถูกปิดไว้ด้วย ฝามีวงขอบเหล็กยึด ให้ผนึกแน่นอยู่กับตัวถัง ...

       เดิมทีเดียว ... เว้นจากขอบแล้ว ... ฝาถังเป็นแผ่นเรียบ ไม่มีช่อง ... แต่ที่เห็นในภาพ ... เป็น ฝาที่ ข้าพเจ้าดัดแปลงขึ้น ... โดย เจาะตรงกลางฝา ... แล้วนำ ข้อต่อตรง PVC มาขันยึดติดไว้ ... จึงเห็นเป็นแกนโด่ อยู่

           ทำไว้ “เท่ ๆ ..” งั้นรึ ...

     หามิได้ครับ ... เป็นแนวคิดแก้ปัญหา แรงดันภายในถัง ครับ ... ด้วยประสบการณ์ ... ที่ทดลองหาบทสรุป การทำน้ำหมัก ใช้เอง ... เพื่อใช้เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย วัสดุ ในการทำปุ๋ยหมัก ... กว่า 3 ปี ...

     พบว่า ในห้วงการหมัก ด้วยวิธีปิดฝาแน่นสนิท ... จะเกิดแรงดันแก๊ส สูงมาก ... การเปิดฝา หลังครบกำหนด 1 สัปดาห์ ... ทำได้ยาก ... แม้จะแก้ปัญหาด้วยการ ติดตั้ง ก๊อก ปิด – เปิด ไว้ ในตำแหน่ง ค่อนก้นถังแล้วก็ตาม ... มีบ่อยครั้งที่ น้ำหมัก ถูกดันซึมออกมาบริเวณรอบ ๆ เกลียว ...

     ข้าพเจ้าจึงคิดแก้ ปัญหาด้วยการ ติดตั้ง Non–Return Valve ผลิตเอง ดังที่ปรากฏ นั่นแหละครับ ... เป็นการลดแรงดันภายในถัง ... ซึ่งอาจยืดระยะเวลาการหมัก ออกไปบ้าง ... แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญ ประการใด

     เอ้า ... หลังจากรู้จัก ถังที่นำมาให้ดูแล้ว ... ทีนี้ก็ มาเข้าประเด็นที่จั่วหัวไว้ได้ละนะ

ในถังนี้ ... มีอะไร ?

          วิสัชนา ...

     เริ่มต้นทีเดียว ... ในถังนี้ ข้าพเจ้า บรรจุ ผลผลิตทางเกษตร ที่ ด้อยคุณภาพ และหรือ คุณภาพไม่ได้ ตามตลาดกำหนด ... โดยถังนี้ ... มี ผลลองกอง เป็นวัสดุหลัก ... บวก Molasses ที่หย่อนอัตราสวนเล็กน้อย ด้วยเห็นว่า ลองกองมีน้ำตาลอยู่ด้วยแล้ว ... ส่วนน้ำ ... ข้าพเจ้าใส่ พอท่วมวัสดุ ... ไม่เคร่งครัด เหมือนน้ำหมักเพื่อสุขภาพ

     ครั้นเมื่อ  ... เปิดใช้ เป็น .. ตัวเร่งสลายปุ๋ย บ้าง เป็น น้ำฉีดไล่แมลง อย่างที่เล่าไว้ใน ไม่คิดจะฆ่า ... ทั้งที่รู้ว่า ... เขาคือศัตรู (อ่านได้จากตรงนี้)  บ้าง ... มาระยะหนึ่ง น้ำหมัก พร่องไป ก็ “ต่อยอด” ... คราวนี้ ใส่ ... “ขี้”  ด้วย ... คือขี้เกียจ ครับ

     ดังนั้น ... มีอะไรก็ เปิดฝาใส่เพิ่ม ไปเรื่อย ๆ เช่น กล้วย มะละกอ ... ฯลฯ ชั้น หัวกุ้ง เศษปลา ก็ใส่ ๆ ลงบูรณาการ ... เลยเป็น ...?

        “น้ำพันทาง” ... คือจะเรียกว่า “น้ำหมัก” ... ก็มีสิ่งเจือเข้ามา ... จะเรียก “ปุ๋ยน้ำ” ... ก็มีปุ๋ย เป็นกระสายเพียงนิด

     ในเมื่อ ... ไม่ได้จดแจ้งไว้ใน สูติบัตร ... ก็ เรียก ๆ กันเอาเอง ตามชอบก็แล้วกัน ... เนาะ

 

 

 

 

         ก่อนขึ้น คอนฐม เที่ยวนี้ ...

     ทุเรียน ... กำลังออกดอก ... ส่วนหนึ่ง ... บาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ดอกบาน ... แล้ว ... ร่วง ก็มีทั่วสวน ...

 

 

 

 

 

 

     ป้าอี๊ด ... เขาเห็น ... ปรารภว่า ... น่ากวาด ใส่ถังหมักนะ ... จะได้เป็น ฮอร์โมน ...

     .... ไม่ ค้าน ... ไม่ หนับหนุน ... แต่ทำไม้กวาด วางไว้ให้ ....

     ป้า ... ก็กวาด ... ขน ... ใส่ลงถัง ... ?

ไม่ช่วย .... เปล่า ! .. เอาเปรียบ ... แต่ไม่ว่าง ... งานกรรมกรก่อสร้าง รออยู่ !

ที่นี้ ... ก็ทราบแล้วซีนะครับ ... ว่า ...

ในถังนี้ ... มีอะไร ? ....

ส่วน จะเรียกว่า อะไร ? ... เรียก เอาเอง เถอะขอรับ

ความเห็น

ว่าจะตอบ ตั้งแต่อยู่ข้างนอกแล้ว ว่าใครจะรู้กับลุงล่ะ ยกเว้นป้าอี๊ด แต่ไม่มีที่ตอบ

จึงต้องเข้าคลุกวงใน จึงบอกได้ที่ท่อพีวีซี คือรูเหย

ส่วนน้ำในถังยังคิดชื่อไม่ออกครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

  เข้าคลุกวงในกะได้ ... แตห้าม ฟัด ... ห้ามเหวียง ... ห้ามขึ้นเขา ... เพราะลุงไม่ถึงซ้อม ... หาหม้ายแรง ... เดียวหายใจไม่ทัน

   "ท่อพีวีซี คือรูเหย"

   ถูกต้อง นะคร้าบบบ ....

      แต ... เป็นพังเหย (รูระบาย) ออกแบบพิเศษ ... ให้รักษาระดับแรงดัน ในถังครับ ...

     

เข้าใจทุกอย่างโดยไม่ต้องแปรBye

 

กลับมาอีกที  ใช้ได้เลย  

   ก็ได้ ในถังนี้และป้าเหอ ... ช่วย ในการ หมักปุ๋ย ... ทำน้ำไล่แมง ...

      ดีหวา เซ่อ คะลุยและ

     วัสดุที่เติม ต่อยอด ... สลายเร็ว ครับ เพราะ จุลินทรีย์ทำงานตลอดอยู่แล้ว ... ยิ่งมีการควบคุมความดันภายในถังด้วย ฉะลุย เลยป้าเหอ

    ผมทำใช้มา กว่า 10 ปีแล้ว ...เพราะต้องทำ ต้องใช้ ให้คนอื่นเห็น ตออีไปชวนเขาทำ / ใช้ ... ไม่พันนั้น เขาหาเชื่อไม๊ !

สมัยที่ผมทำครั้งแรก หลังคาโรงปุ๋ยกระเจิงเลยครับ

  ผมทดลองตอนแรก ๆ ... ต้องให้นักการไปขยายเข็มขัดรัดฝาถัง ระบายแรงดันออก ทุกเช้า ครับลุง

   ถังแรก ใช้ถังพลาสติก ความจุ 200 ลิตร ... หมักได้ 4 วัน ... พองกลาง เหมือนถังไม้โอ๊กหมักไวน์ เลย ... ต้องกลิ้งออกมาแทง ให้แก๊สระบายออก นอกอาคารหมัก ครับ

   เลยต้องคิดหาทางระบาย แบบง่าย ๆ ให้ชาวบ้าน

ทำได้ ... ทำง่าย ... ประหยัด ครับ

สุดยอดเลยลุงพาโล  วิธีนี้ดีน่านำไปใช้นะคะ   ไม่งั้นก็เช็ดน้ำที่เอ่อขึ้นมา ตล๊อดๆ เหอะๆ

    เป็นการทำน้ำหมัก Effective Microorganisms (EM) เพื่อการเกษตร น่ะครับ ... ไม่พิถีพิถัน ด้านความสะอาด ... ใช้วัสดุุประเภทด้อยคุณภาพ เช่นเศษผลไม้ เศษอาหาร และ ใช้ Molasses

    แต่หากจะทำน้ำหมัก สุขภาพ ... ต้องพิถีพิถัน ด้านความสะอาด และคุณภาพวัสดุที่นำมาร่วมหมัก ...  ไม่ใช้ Molasses ... แต่ใช้ น้ำตาลแดง หรือน้ำตาลสีรำ ... ครับ 

ตอนยังไม่ได้อ่าน กะจะตอบว่าถังปลาร้า ก็ใกล้เคียงนะคะลุงพาโล

ของอ้อยหมักลืม มาดูอีกทีขวดเกือบจะระเบิด

หน้า