ของสะสมลุงนุ 2

หมวดหมู่ของบล็อก: 

อยากมีสุขภาพดีทำไง............. ก็ต้องใช้ชีวิตที่ดี กินอาหารที่ดี

ทำอย่างไรจะได้กินอาหารที่ดี ..................ก็ต้องผลิตอาหารเอง

แล้วอาหารที่เราต้องกินประจำคืออะไร  ....................ข้าวไง

แล้วปลูกข้าวทำไง ไม่เคยทำมาก่อน ทำไงดี..............หาคนช่วยสอนซิ

ทำไง...........  ลงเรียนมันซะเลย ............เรียนทำนาเนี่ยนะ…..ใช่

           ใครจะรู้บ้างว่านอกจากผักทั่วไปแล้ว ข้าวเป็นพืชที่ใช้สารเคมีเยอะที่สุด  ดังนั้นถ้าเราอยากได้สุขภาพที่ดีคำตอบก็คือ "ปลูกข้าวกินเอง"  จึงเป็นที่มาที่ไปในการทำนา 

  ข้าวแต่ละชนิด มีลักษณะเฉพาะตัว ทานอร่อยต่างกัน เพาะปลูกได้ดีในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ข้าวของไทยมีหลากหลายพันธุ์ แต่ก่อนปู่ย่าตายายของเราปลูกข้าวที่ตนเองอยากกิน เหลือจึงขาย ทำให้พันธุ์ข้าวยังมีมาก สามารถนำข้าวแต่ละชนิดมาทำอาหาร ขนม หรือหุงกินได้อร่อยในแบบของตนเอง แต่ปัจจุบันชาวนาปลูกข้าวเน้นขาย ข้าวดีๆ กินอร่อยๆ จึงค่อยๆ เลือนหายไป ส่วนที่ยังปลูกกันอยู่ ถ้าปลูกได้คุณภาพก็ส่งออกนอกเพราะมีราคาแพง  บางคนขายข้าวแล้วซื้อข้าวกินก็มี    เมื่อก่อนเวลากินข้าวรู้สึกแต่ว่าข้าวแข็งหรือนุ่ม แต่ปัจจุบันเวลากินข้าวบอกความรู้สึกได้มากกว่านั้น และมีความสุขทุกครั้งที่กินข้าวที่ปลูกเอง เป็นที่มาที่ไปของการอยากสะสมพันธุ์ข้าว

 

หอมสกล&ก่ำดอยสะเก็ด

พวงทอง

เหลืองอ่อน

มะลิแดง

 แป้งในข้าวหอมมะลิแดงถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่มีการย่อยสลายอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะควบคุม จึงเหมาะมากกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังให้พลังงานต่ำ ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้ไม่อ้วน ส่วนแป้งในข้าวขาวถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว ไม่สมดุลกับระดับอินซูลิน ทำให้น้ำตาลเหลือในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนง่าย นอกจากนี้ข้าวหอมมะลิแดงมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมาก จากการวิจัยพบว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ของฝรั่งที่โฆษณากันว่าแน่ ก็ยังแพ้ ข้าวหอมมะลิแดงของไทย

 

นักวิชาการบางท่านคาดว่าข้าวขาวมะลิของบ้านเราได้เชื้อพันธุ์มาจากเขมร ในชื่อ ข้าว โสมาลี    ...และก็ได้แพร่กระจ่ายปลูกในแถบภาคตะวันออกของบ้านเรา ในเขตจังหวัด ฉะเชิงเทรา ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ที่สุดก็ถูกคัดพันธุ์ และแพร่กระจายเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ ทั่วโลก

หอมไชยา หุงต้มค่อนข้างนุ่มมีกลิ่นหอม เป็นข้าวหายากจากอำเภอไชยา จังหวัด สุราษฏ์ธานี

ใครจะรู้บ้างว่ามีข้าวที่เอาชนะข้าวหอมมะลิของไทยได้ ข้าวสายพันธุ์ Pearl Paw San ข้าวพม่า ลักษณะเฉพาะคือเป็นข้าวที่มีลักษณะกลมแต่พอหุงแล้วข้าวจะยืดยาวออก หุงแล้วนุ่ม และยังคงความหอมของข้าวได้

ข้าวเหนียวดำช่อใบไผ่  ข้าวพื้นเมืองของสงขลา สามเมล็ดในหนึ่งช่อดอก

         ยังมีอีกหลายพันธุ์ จะหอมนิล ไรซ์เบอรี่ หรื่ออื่นๆ ที่กำลังนิยมปลูกกัน เยอะมาก ทั้งหมดทั้งมวล ใช้เวลาประมาณ 2 ปี เดินทางหลายร้อยกิโล สนุกบ้าง เหนื่อยบ้าง บางพันธุ์ปลูกไปบ้างแล้ว บางพันธุ์อยู่ระหว่างปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ บางพันธุ์รอลงในฤดูการถัดไป 

       อยากบอกว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย เราในฐานะคนไทยน่าจะให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องข้าว ไม่ใช่แค่การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้เยอะที่สุด แต่เราน่าจะได้กินข้าวที่อร่อย สะอาด ปลอดภัย สามารถเลือกกินข้าวได้ตามแบบที่เราชอบ สุดท้ายพยายามกินข้าวให้เป็นยา เพราะข้าวเราต้องกินทุกมื้อ และทุกวัน ไม่เหมือนผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่เราเปลี่ยนไปได้ในแต่ละมื้อ แต่ละวัน

ความเห็น

 

 

ดีใจกับลุงนุด้วยนะคะ  มีพันธุ์ข้าวตั้งหลายพันธุ์  

ทุกวันนี้ชาวนาไทย  ไม่กินข้าวที่ตัวเองปลูก  ขายข้าวแล้วไปซื้อข้าวสารที่ปนเปื้อนสารเคมีกินกัน  จึงทำให้คนไทยป่วยกันเยอะมาก ๆ ตอนนี้

อาหารกับสุขภาพเป็นของคู่กันครับ อยู่ที่ใครจะให้ความสำคัญมากหรือน้อย ยิ่งข้าวต้องกินทุกวัน แต่หลายๆคนไม่ค่อยให้ความสำคัญ

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ดีใจด้วย ค่ะ กับของสะสมอันทรงคุณค่า..ไม่มีใครปฏิเสธได้...ดีมากๆค่ะ พี่บัวต้องเช็คแล้วละ น้องนุ ว่า ที่รับประทานอยู่ทุกวัน ใช้สารเคมีหรือเปล่า...

ดีครับ ทุกอย่างอยู่ที่การเริ่มต้น เริ่มเร็วก็ได้สุขภาพคืนมาเร็ว

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

น่าปลื้มจัง สะสมพันธุ์ข้าวเอง มีหลากหลายสายพันธุ์ข้าว ถ้าได้กลับบ้านไปทำนาเองเมื่อไหร่จะมาขอพันธ์ข้าวจากลุงนุบ้างจะได้ไหมครับ ติดตามอ่านบล็อกของนานุวัฒน์ตลอดครับชอบมากๆ

รักบ้านเกิด ชอบเศรษฐกิจพอเพียง

ให้เป็นคิวแรกเลยครับ. ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ข้าวสวยๆ ปลอดสารดูน่าทานมาก ข้าวลำอองละไลชื่อเพราะจัง พี่นึกถึงข้าวเม่าเลย ไม่ได้กินนานมาก

ลำอองสะไล เป็นข้าวเขมรครับ ยังไม่ได้ลองทาน

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

สุดยอดเลยครับที่สะสมพันธุ์ได้ขนาดนี้

ความสุขของลุงนุ 555

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

หน้า