ทดลองปฏิบัติการหลอกมด

หมวดหมู่ของบล็อก: 
Keywords: 

    สืบเนื่องจากบันทึกนี้ http://www.bansuanporpeang.com/node/3982 ปัญหามาปัญญามี หลังจากที่นอนเครียดเล็กน้อยครับแต่ก็พยายายทำใจให้มากที่สุด และแล้วก็หลับไปตื่นหนึ่ง ตื่นขึ้นมาอ่านความเห็นสมาชิก ก็ไอเดียบรรเจิดว่าเราต้องทดลองซิ ว่ามดมันไม่ชอบหรือไม่สนใจอะไร ทดลองโดยการเอาเมล็ดข้าวเปลือกไปคลุกเคล้ากับสิ่งที่จะทดลอง แล้วเอาไปวางให้มดมันขนเอาไปกิน

      สิ่งที่นำมาทดลองมีดังนี้

  1. น้ำหมักป้องกันกำจัดเชื้อรา ของปฐมอโศก(มีเปลือกมังคุดเป็นส่วนผสมด้วย)
  2. น้ำหมักป้องกันหนอน ของปฐมอโศก
  3. น้ำส้มควันไม้
  4. ขี้เถ้า

    เอาเมล็ดข้าวคลุกสิ่งเหล่านี้แล้วนำไปวางใกล้ๆหลุมที่มดอยู่ นั่งเฝ้าดูไปด้วย กลับมาเข้าเวบแล้วกลับไปดูต่อก็ได้ข้อสรุปว่า

  1. มดวิ่งเข้าหาชอบมาก ขนกันใหญ่
  2. มดเกรงๆ แต่มีการขนบ้าง
  3. เกรงใจมากกว่า ข้อ 2 แต่สุดท้ายก็ขนไปบ้าง แต่ขนน้อยกว่าข้อ 2
  4. มดไม่ยุ่งเลย ย้ายเข้าไปใกล้ๆ หลุมมันก็ไม่สนใจ

    พอมดเข้าไปขนที่ข้อ  1. มากๆเข้า ผมเอาขี้เถ้าโรยวงแตกครับท่านผู้ชม ดังรูป

ความเห็น

งานวิจัย อาจต้องทำซ้ำ สัก สาม
๐๐
๐๐

ร้อยครั้ง...

จนกว่าผลจะนิ่ง

(ฮา)

แจ่มมากครับ

ออกปากรุนท็อกที !!!

ถ้างั้นก็น่ำข้าวปีหน้าก็แล้วกัน Laughing

ต้องลองดูหลายๆครั้ง

ขออภัยและขอบคุณค่ะ

พรุ่งนี้จะลองดูอีกครับ

เพิ่งรู้ว่ามดกลัว ขี้เถ้า....{#emotions_dlg.smile}

จะไม่ต้องโรยแ้ป้งฝุ่น ให้เปลือง....{#emotions_dlg.money_mouth}

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

น้องมดบ้านแอน...คงจะได้รับแป้งฝุ่น จนผิวพรรณผ่องนวล เนียนนุ่มเป็นแน่แท้..อิอิ

 

แต่ขี้ถ้าใช้ในแปลงนาไม่ได้ ถ้ามันเยอะจะทำให้ดินเป็นด่างครับ

สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ

ตัวจริง เสียงจริง

หนูเลื่อมใสในกระบวนการแก้ปัญหาค่ะ

วิธีคิด แบบมีตรรกะ

 

ขอให้ประสพผลสำเร็จนะคะ

หนูช่วยได้แค่ ให้กำลังใจค่ะ

 

 

 

แบบนี้เรียกว่า วิทยาศาสตร์ในบ้าน หรือ วิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น มีอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือมากท่านหนึ่ง คือ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ท่านบอกว่า ความรู้ยังมีอีกเยอะที่คนไม่รู้กัน โดยเฉพาะความรู้ในท้องถิ่น แต่ข้อประสบของผู้ใหญ่นี่ ไม่เพียงความรู้ในท้องถิ่น แต่เป็นความรู้ที่ใช้ได้ทั่วไปในประเทศ ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เราก็เรียกว่า วิทยาศาตร์ในท้องถิ่น ท่านบอกผมว่า ท่านต้องการให้เยาวชนไทย แต่ละคน ได้เรียนรู้การเสาะแสวงหาความรู้ต่างๆ เหล่านี้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่เอาไปใช้ได้จริง เกิดขึ้นหรือพบเห็นในท้องถิ่น ไม่ใช่ความรู้ที่เรียนตามๆกันมา หรือท่องตามๆ กันมา คนในชาติไทยจึงจะคิดเป็น ทำเป็น อยู่เย็นอย่างมีความสุข

และแล้วท่านก็ไอเดียบรรเจิด

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

หน้า