การอ่านเวลาแบบภูเก็ต(ดั้งเดิม)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

การอ่านเวลาของภูเก็ต ดั้งเดิม  ต่างจาก  จังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้  แต่ก็มีบางอย่างเหมือนกัน  ดังนี้

1.  เวลา  เรียกว่า "ตีย"  ทั้ง  กลางวัน  กลางคืน  ไม่เรียกว่า โมง  หรือ ทุ่ม 

     เช่น  ตีย 5  หวันฉ่าย  , ตีย 10 เช้า

2.  ช่วงเวลาใน 1  ชั่วโมง  ถือว่ามี  12  ช่วง  เรียกว่า "ล๋อง" 

     เช่น  "1  ชั่วโมง  มี  12  ล๋อง"  ,  5  นาที= 1  ล๋อง 

                 ,  10  นาที = 2  ล๋อง , 30  นาที = 6  ล๋อง

                 , 50 นาที = 10  ล๋อง , 55  นาที = 11 ล๋

ตัวอย่างการอ่านเวลา

ภาพนี้  อ่านว่า  ตียสิบ  ส้องล๋องกวา(ส้องล่องว่าๆ)         

    ภาพนี้  ตียฮก  เกือบก๊าวล๋อง

  ภาพนี้  เกือบตียสิบส้อง  หรือ  ตีสิบเอ็ดสิบล๋องว่าๆ  

   ภาพนี้  ตียสิบส้องล๋อง

ภาพนี้  แขคี้ตียสีย (เกือบ สี่โมงเย็น  ,เกือบตีสี่)

ณ วันนี้  เวลาผมพูดกับ แม่(อายุ 90 ปี) , น้า(อายุ 84 ปี) หรือน้องๆ หลานๆ (อายุ 30 ปี ขึ้นไป)  ก็มักพูดบอกเวลา  แบบดั้งเดิมนี้แหละ  เพื่อไม่ให้คนรุ่นหลังลืม  เด็กๆ  ก็จำได้เช่นกัน          


ความเห็น

 ยากจังเลย แต่เป็นเกร็ดความรู้ที่ดีครับ

  เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น  แต่น่าเสียดาย   คนส่วนใหญ่ไม่ใช้  ผมจึงนำมาบอกกล่าวซ้ำ  เพื่อกันลืม

ภาษาภูเก็ต  ได้ๆค่ะ   คิดถึงเพื่อนเลยค่ะ  ป้าเล็กอายุเพิ่ง25เอง :uhuhuh:

25 ปีนี่อายุเพื่อนป้าเล็กหรืออายุป้าเล็กครับ

 ดูจากภาพ  คิดว่า  15 ซะอีก

ความจริงแล้วถ้านับแบบล๋องๆ นี่เข้ากับนาฬิกาข้อมือมากๆ เลยนะครับ แต่ง่ายๆ แบบนี้กลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้วหายไป มานับกันละเอียดทุกนาทีวินาที แล้วมาสายเหมือนเดิม  อิอิ (แต่คงไม่ฮา)

สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ

   เป็นเรื่องจริงที่สุด  ในสังคมคนไทย(ส่วนใหญ่)

ออกเสียงยากจังค่ะ  แต่ก็ลองพูดสนุกดี

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

    การออกเสียงแบบภูเก็ต  ต่างกับสำเนียงใต้ของจังหวัดอื่นๆ  มากสักหน่อย  เลยรู้สึกว่ายาก

ยากจังเลยครับ


หน้า