การอ่านเวลาแบบภูเก็ต(ดั้งเดิม)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

การอ่านเวลาของภูเก็ต ดั้งเดิม  ต่างจาก  จังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้  แต่ก็มีบางอย่างเหมือนกัน  ดังนี้

1.  เวลา  เรียกว่า "ตีย"  ทั้ง  กลางวัน  กลางคืน  ไม่เรียกว่า โมง  หรือ ทุ่ม 

     เช่น  ตีย 5  หวันฉ่าย  , ตีย 10 เช้า

2.  ช่วงเวลาใน 1  ชั่วโมง  ถือว่ามี  12  ช่วง  เรียกว่า "ล๋อง" 

     เช่น  "1  ชั่วโมง  มี  12  ล๋อง"  ,  5  นาที= 1  ล๋อง 

                 ,  10  นาที = 2  ล๋อง , 30  นาที = 6  ล๋อง

                 , 50 นาที = 10  ล๋อง , 55  นาที = 11 ล๋

ตัวอย่างการอ่านเวลา

ภาพนี้  อ่านว่า  ตียสิบ  ส้องล๋องกวา(ส้องล่องว่าๆ)         

    ภาพนี้  ตียฮก  เกือบก๊าวล๋อง

  ภาพนี้  เกือบตียสิบส้อง  หรือ  ตีสิบเอ็ดสิบล๋องว่าๆ  

   ภาพนี้  ตียสิบส้องล๋อง

ภาพนี้  แขคี้ตียสีย (เกือบ สี่โมงเย็น  ,เกือบตีสี่)

ณ วันนี้  เวลาผมพูดกับ แม่(อายุ 90 ปี) , น้า(อายุ 84 ปี) หรือน้องๆ หลานๆ (อายุ 30 ปี ขึ้นไป)  ก็มักพูดบอกเวลา  แบบดั้งเดิมนี้แหละ  เพื่อไม่ให้คนรุ่นหลังลืม  เด็กๆ  ก็จำได้เช่นกัน          


ความเห็น

    พอคุ้นเคยกับมันแล้ว  ไม่ยากเลย  เป็นการคิดเลขในใจแบบง่ายๆ นั้นเอง

ที่พังงาก็อ่านเวลาแบบนี้ ใครที่จะมาอยู่ภูเก็ต, พังงา หรือคนที่เกิดแถวนี้แล้วไปอยู่ภาคอื่นต้องเก่งคณิตศาสตร์ครับ :uhuhuh: :uhuhuh: "ตอนนี้ตีกี่แล้ว? " "ตีเจ็ด หนึ่งล่อง" "ต่อเช้าตีหกหวาๆ ไปกินโกปี้กับเจียะโก้ยกันนะ"

    ครับ   2  จังหวัดนี้  ใช้คำ  คล้ายๆ กันมากที่สุด  เพียงแต่สำเนียงบางคำต่างกันเล็กน้อย

มึนเลยครับ..:confused:

 

   อย่าเพิ่งมึน เป็นเพียงตัวเลข  12 คูณ 5  เท่านั้นเอง  ถ้าคุ้นเคยกับมัน  ก็หายมึน

ล๋องละ 5 นาที  30 นาที คือ 6 ล๋อง พอเข้าใจครับ

   การอ่านเวลาแบบนี้  ไม่ยาก  แต่เราไม่คุ้นเคยกับมันนั้นเอง

พอเข้าใจค่ะ แต่ถ้าให้พูดก็คงงงนิดหน่อย

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

  ไปอยู่ภูเก็ต สักพัก  ก็หาย"งง"แล้วครับ

แล้วกางเกงกับสากกี้ ภูเก็ตเขาเรียกว่าปรุยฮะคับอาจารย์

เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น

หน้า