คัดกรอง ต้อง ... อันนี้ ...?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

         “ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น”

     พังเพยนี้ ส่วนใหญ่ คงเคยได้ยินมาก่อน ... ฟังดูก็ ขำ ๆ ดี

     จะไม่น่าขำไง ก็บอกว่า ... อันนี้นะ “ถี่”  ... แต่ ช้าง ยังเดินลอดได้สบาย ...

     ส่วนอันที่บอกว่า อันนี้แหละ “ห่าง” ... กลับแม้แต่ ตัวเล็น ยังลอดไม่ได้

     นับว่าเป็น กุศโลบาย  อันชาญฉลาด ของบรรพบุรุษเรา ในการให้พังเพย ไว้เตือนผู้ ยล ยิน ให้ตระหนักถึงความถูกต้อง เหมาะสม พอดี ต่อการงาน ที่กระทำ ...

     แต่ที่จะนำเสนอ ต่อไปนี้ เป็นอุปกรณ์ คัด ... กรอง ชนิดหนึ่ง ในหลาย ๆ ชนิดที่รู้จักกัน ... ไม่ถี่ จนลอดช้าง และก็ไม่ห่างจน แม้เล็น ไม่สามารถลอด ... อุปกรณ์ที่ว่านี้ คือ ....

         ตะแกรง ครับ ... เป็นตะแกรงไม้ไผ่ ...

     ที่มา ที่ไป รึครับ ... ก็สืบเนื่องจากการสร้างอาคารเก็บอุปกรณ์ทำสวนที่นำเสนอไปแล้วนั่นแหละ ..

     ด้วยทรายที่จะใช้เป็นส่วนผสมซีเมนต์ ก่ออิฐ และเทพื้น ถูกกองไว้ใต้ต้นทุเรียน ... การก่อสร้าง ก็ออกจะยืดเยื้อ ... กองทรายจึงมีทั้ง ดอกทุเรียน ใบทุเรียน ลงไปปะปน

        ดอก ใบ ทุเรียน ไม่กระไรนัก ... เลือกออกได้ไม่ยากนัก ... แต่ใบสะตอ นี่ซิ ... หมดสิทธิเลือก ทำได้สะดวกที่สุด คือร่อน คัดออก

         งานหาไม้ไผ่ มาจักตอกสาน ตะแกรง จึ่งจรมา ....

             ความรู้สมัยเรียน ชั้น ประถม ถูกรื้อค้น ...

 

 

 

 

 

    จนได้ แผ่นตะแกรงแผ่นนี้ ขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     มีแผ่นตะแกรง ... ก็ต้องมีขอบ

     ไม่ไผ่ จึงถูกนำมาเหลา ... ขดวงกลมขนาดที่ชอบ ... ผูกไว้ให้อยู่ตัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    แผ่นตะแกรง ก็มีแล้ว ... ไม้ขอบ ก็เหลาแล้ว ...

    หากให้แยกกันอยู่ ก็ไม่เป็นตะแกรง ซีนะ ... งั้น

    เอามาประกอบกันเข้า ... ผูกเนา ... สร้างความสนิดชิดเชื้อ 

 

 

 

 

 

 

 

     แล้ว ผูกจริงด้วยกลเงื่อน ที่ได้เรียนมาในวิชาลูกเสือ ...

    ด้วยความขี้เกียจเหลาตอก ... ในเบื้องต้น ส่งผลให้ต้องนำไปลนไฟ เผาใยหนวดใม้

    เผลอเผานานไปหน่อย ... จึงเกิดรอยเกือบไหม้

 

 

 

 

 

 

 

 

     คิดว่า รอยไหม้ จะไปถึงด้านหลัง ... พลิกดู

    เฮ้อ อ อ ... ปรกติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     ตอน เริ่มลงมือทำ ... กะจะเอาไว้ร่อน “กรอง” เอาทราย ... แต่

    พอทำเสร็จ ... ป้า (ป้าอีกละ) บอกเสียดาย ... เอาไว้ใส่ของตากดีกว่า ... ประเดิมด้วยพริกไทย

    “ถ้าจะร่อนทราย ... พ่อก็ทำเอาใหม่ ซี” ... ปะกาศิต จากป้า

 

 

 

      เอ้า ... ประโยชน์ใช้สอย แม้จะเปลี่ยนไปจากเจตนาเดิม ... ก็ใช่จะเสียหายอย่างใด ... อนุโลมกันไป ... ค่อยทำอันใหม่ ขึ้นมาไว้ คัด ... กรอง

     ตะแกรงอ้นเดียวกัน แต่ก็แฝงเจตนารมณ์การใช้ ไว้ 2 ด้าน คือ ...

     “คัด” ... เอาส่วนหยาบ ที่ต้องการ .. ซึ่งเหลืออยู่ด้านบน ไปใช้ประโยชน์ ... หรือ

                     “กรอง” ... เอา ส่วนละเอียด ... ซึ่งลอดตาตะแกรง ไปใช้ประโยชน์

     บ่งชี้ว่า ... ประโยชน์ มีอยู่ทั่งใน หยาบ และ ละเอียด ... ตะแกรง ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ “คัด” หรือ “กรอง” เท่านั้น  การจะเอาส่วน ที่ค้างบนตะแกรง หรือส่วนที่ลอดตาตะแกรงไปใช้ประโยชน์นั้น ... อยู่ที่วิจารณญาณ ของผู้ร่อน

     อารมณ์ ก็คงไม่ห่างจากกรณีย์นี้นัก  เพียง เปลี่ยนมาใช้ “สติ สัมปชัญญะ” คัด กรอง แทนตะแกรง ... แล้วเลือกใช้ โดย “ทิฐิ” ...

         หาก เลือก โดย “สัมมาทิฐิ” ... ก็ย่อมเต็มประโยชน์

ความเห็น

โห ฝีมือจริงๆ นับถือๆ

    ขอบคุณ ครับ ...

      นำความรู้ด้าน "หัตถศึกษา" คราเรียนประถม มาให้ดูกัน เป็นการศังหารเวลา ครับ

      ต้องขอขอบคุณ อีกท่านหนึ่ง แหละครับ ... และขอนำเรียนแบบเดียวกัน ว่า เป็นการนำความรู้ด้าน "หัตถศึกษา" คราเรียนประถม มาให้ดูกัน เป็นการศังหารเวลา

บ้านผมเรียก เจ้ย ไว้ร่อนข้าวเปลือกหลังจากนวด คู่กับ ด้ง ที่ใช้ ฝัด

ลุงเก่งจังทำได้

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

   เป็นการเคาะสนิม ความทรงจำ ครับ .... ลืม ๆ ไปเสียหลายลายแล้ว

ชอบปะกาศิตของป้า...จะนำมาใช้บ้าง
ส่วน "ตะแกรง" ของ กิเลสและจิตใจ ก็กำลังฝึกอยู่ค่ะ เพราะปะกาศิตไม่ได้ ต้องทำเอง

   เกรงใจ นิ หลานอ้อยเหอ

สุดยอดเลยคุณลุง  งานแบบนี้เริ่มเลือนลางไปจากชุมชนเพราะนิยมบริโภคความสะดวกสบาย ด้วยการซื้อเสียเป็นส่วนใหญ่  หาผู้ใหญ่มาถ่ายทอดให้เด็กได้ยาก 

    ลุงว่า ภูมิปัญญาน่ะ คงคงตกค้างอยู่บ้างแหละ

      แต่ เครื่องรับ สิ จะรับของอย่างนี้ได้ไหม ... ก็เขาคุ้นชินกับเทคโน ฯ ใหม่ ๆ ที่ใส่เกมส์ ไว้เพียบ

หน้า