จากแรงเหวี่ยงสู่รอยต่อของความคิด

หมวดหมู่ของบล็อก: 

จากแรงเหวี่ยงสู่รอยต่อของความคิด

 

คำพูดต่อไปนี้เป็นคำพูดที่ได้ยินโดยตรง  และมีคนมาบอกให้ฟัง  ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด  หางานทำไม่ได้กลับมาขอแม่กิน  เรียนมาสูงเสียเปล่าแต่ไม่ได้เป็นเจ้าคนนายคน  หางานทำไม่ได้เลยมาทำสวน  ถ้าจะทำนาทำไร่จะไปเรียนทำไม่เสียเงินเสียทอง  เสียเวลาคนจบ ป.4  ก็ทำได้แค่งานทำนาทำสวน   

ผู้เขียนก็เป็นคน มีหัวจิตหัวใจ  เจอแรงเหวี่ยงแบบนี้มันก็ต้องมีความรู้สึกเหมือนกันนะ  (ถึงจะบอกว่ามันเรื่องของเรา)  แต่ลึก ๆ คิดค่ะ  เราต้องอยู่ในสังคม  เหมือนเป็นยี่ห่อของคนที่เรียนมาแล้วมาทำงานที่ต่ำ ๆ (คนในชุมชนคิดว่าการทำนา  ทำสวนเป็นงานต่ำอยู่กับดิน)  ในช่วงรอยต่อของความคิดเป็นช่วงที่อยากที่สุดที่จะก้าวพ้นมันไปได้ถ้าใครทนได้มาก  และนานสามารถก้าวพ้นมันมาได้มันก็จะเป็นแค่ผงเข้าตาเอามันออกตอนไหนก็ได้

                ปัญหาของแรงกายเราจะไม่มีความอดทนมากเท่าคนสมัยก่อนจากเคยอยู่ห้องแอร์   ต้องมาทำงานตากแดดมันคนละเรื่องกันเลยค่ะ  ความอดทนเราสู้คนที่ทำอยู่ทุกวันไม่ได้  ประสบการณ์ไม่มีแน่  จะเอาวิชาการมาทำอย่างเดียวไม่ใช้แล้วค่ะ  วิชาการเขียนบอกว่าทำแบบนี้ได้ดี  (วิชาการที่เราไปอ่านมาไม่รู้นานแค่ไหนกันแล้ว)  คนที่เขียนเป็นวิชาการให้เราอ่านเขียนในห้องแอร์   เวลาเอามาทำจริง ๆ มันเจอปัญหาต่างกัน  ต่างพื้นที่เวลาทำจริงเจอปัญหาจริงบางอย่างแก่ได้บางอย่างไม่ได้   แรงใจหมดแรงกายไม่มี               คิดเล่น ๆ ว่าใครจะทนได้แค่ไหนบางอย่างสิ่งที่เราเลือกก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำได้ปัญหามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราทุกปัญหา  ครอบครัว  ชุมชน  เงินทุน  แรงกาย  แรงใจ  ความรู้เดิม  ความรู้ใหม่  การวางแผน  ฐานของความคิดแน่นแค่ไหน  ฐานของครอบครัว  ทนกระแสสังคมได้มากแค่ไหน อย่าลืมว่าเราเป็นปลาที่ว่ายทวนน้ำลำบากมากกว่าคนอื่น ๆ เป็นพันเท่า   ในที่สุดแล้ว ก็เลยจำเป็นต้องทิ้งทุกอย่างไว้แล้วกลับไปในสังคมที่ทุกคนลงความเห็นว่าดีที่สุดเจริญที่สุด  เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว  บางคนอาจจะบอกว่าเราล้มเหลวไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต  ถ้าเรายังพอมีสติอยู่ให้ตั้งหลักคิดให้ดีว่าที่เราเป็นแบบนี้ด้วยปัจจัยอะไรบ้าง  แล้วที่เราขาดอะไรบ้าง  ทำงานได้เงิน  เตรียมทุกอย่างที่เราจะจำเป็นเพื่อกลับมาอยู่ในถิ่นให้ได้  การที่เราได้ทิ้งสิ่งที่เราทำไว้มันเจ็บปวดมากยิ่งเจ็บยิ่งต้องวางแผนให้ได้หลาย ๆ แบบ  แล้วมาดูว่าเราทำแบบไหนดีที่สุด 

ความเห็น

อยู่ในสังคม อยู่ในหมู่ความเป็นคน จะไม่ถูกนินทาไม่มี ขอให้สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ดีไม่ดี รับเอามาเป็นแรงผลักดัน แรงสู้ ทำให้คนอื่นเห็น  ไม่ต้องไม่สนอย่างอื่น ขอให้เราทำดีที่สุดพอ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ขอบคุณค่ะ  ขอบคุณจริง ๆค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

ให้บังเอิญ on อยู่เลยขอแจม..ที่กิ่งบอกว่า "จะเอาวิชาการมาทำอย่างเดียวไม่ใช้แล้วค่ะ" อยากบอกว่า ไม่มีทฤษฎีจากนักคิดคนใดสามารถนำมาปฏิบัติได้ร้อยเปอร์เซนต์หรือสำเร็จลุล่วง แต่มันคือแนวทางหนึ่งจากการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยการปรับใช้ เสมือนเข็มทิศที่พอชี้ทิศให้รู้ว่าควรไปทิศใด แต่บอกไม่ได้ชัดว่า..ต้องไปทางขวา 45 องศาแล้วไปอีก 20 เมตร อะไรทำนองนี้ ..อย่าว่าแต่ภาคเกษตรเลย ภาคธุรกิจหรือการบริหารก็ไม่ต่างกัน ทฤษฎีกับการปฏิบัติอาจไม่สอดคล้องกันทั้งร้อย แต่เป็นแนว (ไม่งั้นนักมวยจะมีโค้ชไว้ทำไม โค้ชไม่ได้ต่อย ดีแต่บอก..) ตั้งสตินะ..ทบทวนดูว่า ชีวิตเรามีอะไรเป็นจุดแข็ง อะไรเป็นจุดอ่อน อะไรที่เราเอามาใช้ได้ดีกว่าคนอื่นทั่วไป ต้องเชื่อมั่นในตนเองและดึงศักยภาพตรงนั้นมาใช้..

ขอเล่าเรื่องตัวเองบ้าง..บางส่วนคล้ายกับของกิ่ง..เพื่อให้เป็น case study ก่อนปี 40 พี่เป็นมนุษย์เงินเดือน ตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง รายได้นับว่าพอสมควร ตอนตัดสินใจลาออก มีหลายบริษัทมาชวนไปทำงานแต่ปฏิเสธทั้งๆที่ตอนนั้นมีหนี้จากการลงทุนอยู่สองล้านกว่า ออกมาเปิดกิจการเล็กๆที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้เลย แต่มั่นใจว่าไปรอดเพราะตัวเรามีจุดแข็งบางประการที่น่าจะทำให้กิจการไปรอดได้ ตอนนั้นบอกกับตัวเองว่าขอเพียงกิจการเดินไปได้บ้าง และจะทำแบบพอเพียงไม่ได้หวังร่ำรวยแต่หวังความสุขและเวลาที่มีให้กับครอบครัว ตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง ห้าพันบาท (ย้ำห้าพันบาท) พ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อนๆและคนที่รู้จักต่างหัวเราะและว่าเราบ้า ไม่มีใครสนับสนุน บอกให้เรากลับไปทำงานกินเงินเดือนมีรายได้ที่แน่นอนและสูงกว่ามาก เสียดายความรู้ ประสบการณ์และมันสมองที่จะมาจมกับงานเล็กๆ และทุกคนก็ปรามาสว่า "เจ๊ง" ไม่เกินสามเดือนต้องกลับไปกินเงินเดือนเหมือนเดิม..(เป็นไง..แรงเหวี่ยง..เหมือนกัน) ครึ่งปีแรก เหนื่อยแทบตาย ติดลบตลอด แต่พยามหาช่องที่นักวิชาการเรียก product differentiate แล้วสร้าง valued จากตรงนั้น ตอนนี้พี่ก็ยังทำอยู่ ติดลมบนแล้ว ทำงานแค่เสาร์-อาทิตย์ แต่มีรายได้ไม่ต่างจากที่เคยกินเงินเดือน..ความรู้ตอนทำงานใหม่เป็นศูนย์ แต่ได้จาการค้นคว้า ถามไถ่ ลองผิดถูก เอาทฤษฎีที่ร่ำเรียนมาประยุกต์ใช้กับประสบการ์ .. ที่เล่ามาไม่ใช่การคุยโว แต่อยากเห็นคนที่กำลังล้า ให้สู้..สู้อย่างมีสติ..วิเคราะห์..และปรับใช้ (งานพี่ตอนเริ่มทำยังวิเคราะห์ SWOT - การวางแผนกลยุทธ์ ด้วยซ้ำ ใครว่าเวอร์ก็ช่าง แต่มันทำให้เราเห็นพิมพ์เขียวของชีวิตและงานใหม่ของเรา)  สู้นะ...

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

ฟังดูวิชาการ บางครั้งลองทำ SWOT บ้างเราอาจจะดีได้นะคะ

พี่สาวก้อยเจอแรงเหวี่ยงเหมือนพี่กิ่งนะคะ ตอนนี้กำลังใจที่บ้านหนุนเต็มที เข้าใจความรู้สึกพี่กิ่งคะ เราปรับความคิดคนอื่นไมได่ แต่เราปรับวิธิการคิดของเราให้เป็นบวกมากขึ้นได้คะ  ก้อยเองก็โดนถามเหมือนพี่กิ่ง ตอนที่ไปจับจอบ จับมีดเข้าสวน เรียนสูงแต่เข้าสวน ก้อยคิดแค่ว่าความรู้ไม่ได้จำกัดว่าเราต้องทำงานในห้องแอร์เท่านั้นแต่เราทำสิ่งที่เรารักได้ และเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเราเองนะคะ

...2553 ปีที่ 1 ที่เริ่มเดินตามรอยพ่อ...

ขอบคุณค่ะ  ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

การเรียนสูงไม่จำเป็นว่าจะทำงานด้านการเกษตรไม่ได้ แต่ผมมองว่าเป็นการดีเสียอีกที่จะมีเกษตรกรมีความรู้สูงๆ บ้าง ประเทศไทยจะได้เจริญมากกว่านี้ ดูแต่ในหลวงเราสิ ท่านยังเสียสละลงมาทำเป็นตัวอย่างเลย มีทฤษฎีใหม่ เศษฐกิจแบบพอเพียง ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรา เป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีอยู่มีกินมีความสุขกับครอบครัว

มิตรภาพไร้พรมแดน

ขอบคุณค่ะ  คงจะเป็นช่วงสร้างภูมิคุ้มกันค่ะ   ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ  ขอเวลาสร้างภูมิคุ้มกันก่อนนะค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด

ใครเชิด ใครชู ช่างเขา

ใครด่า ใครบ่น ทนเอา

ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

ไม่ทราบว่าท่านผู้ใด เป็นคนแต่งไว้ แต่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ครับ คิดได้ตามนี้จะไม่ทุกข์ใจครับ

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


ขอบคุณค่ะ  ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

หน้า