น้ำหมัก น้ำยางพารา
พื้นที่ที่มีการผลิตน้ำนมเยอะๆ ก็มีน้ำนมเป็นวัตถุดิบที่จะเอามาทำน้ำหมักได้ แต่แถวสวนผมมีแต่น้ำยางพารา ที่เคยเอามาทดลองทำน้ำหมักไปครั้งหนึ่ง http://www.bansuanporpeang.com/node/7290 แต่เนื่องจากข้อมูลน้อยไปหน่อย บางขวดก็ผสมน้ำ บางขวดก็ไม่ได้ผสมน้ำ พอหมักได้สามสี่วัน ยางเริ่มจับตัวเป็นก้อน น้ำหมักก็อัดแน่นในขวด
บังเอิญแถวสวนผมมีโรงงานน้ำยางข้น เขาเอาน้ำยางสดไปใส่เครื่องปั่น (Centrifuge) หรือเรียกแบบให้เข้าใจกันง่ายๆว่า เครื่องหมุนแยกวัตถุโดยใช้แรงเหวี่ยง น้ำในน้ำยางสดจะถูกแยกออกมา ทำให้น้ำยางข้นขึ้น แต่ว่าเครื่องปั่นนี้ก็คงไม่สามารถแยกยางออกจากน้ำยางสดได้หมด ยังมีเนื้อยางหลงเหลืออยู่ในน้ำ โรงงานจึงเอาน้ำกรดผสมลงไปเพื่อให้เนื้อยางแยกออกมาจากน้ำ แล้วเอาไปขายได้อีก แต่ปริมาณเนื้อยางที่ได้ในน้ำนี้จะมีสัดส่วนกี่เปอร์เซนต์ ผมไม่อาจทราบได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเอาเอง แต่ฝากให้น้องชายซึ่งเขารับซื้อน้ำยางไปขอมาให้
ได้มาถังนึงประมาณ 15 ลิตร สีขาวเหมือนน้ำนม หรือเหมือนน้ำยางสด
เทใส่ขวดน้ำอัดลม ดูแล้วก็สีเดียวกับน้ำยางสด
ส่วนผสมต่อไปคือ กากน้ำตาล เทใส่ถังสี
แล้วเทน้ำยางใส่ลงไปในถัง
กวนให้น้ำยางและน้ำตาลเข้ากัน จากสีขาวก็กลายเป็นกาแฟใส่หางนม
ส่วนผสมต่อไปคือ น้ำหมัก
ผสมน้ำหมักลงในถัง แล้วกวนให้เข้ากัน แล้วเทใส่ขวดน้ำอัดลม จำนวนหนึ่ง
ใส่ขวดน้ำอัดลมเพราะว่าสังเกตได้ง่าย
หลังจากนนั้นก็รอดูต่อไป
หลักการ การหมักนี้ใช้น้ำที่เป็นส่วนผสมในน้ำยางสดเป็นวัตถุดิบในการหมัก ปกติในน้ำยางสดจะมีองค์ประกอบอย่างคร่าวๆ คือ เนื้อยาง ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ (บางสวนอาจถึง 35) น้ำ (ซึ่งมีสารหลายชนิด เช่นโปรตีน ฯลฯ วันหลังจะหาข้อมูลมาให้ว่ามีอะไรบ้าง) น้ำยางสดจากสวน ผู้รวบรวบส่งโรงงานจะต้องผสมแอมโมเนี่ยม (เยี่ยวอูฐ) ลงไปในน้ำยางสด เพราะจะทำให้เนื้อยางไม่จับตัวเป็นก้อน และโรงงานต้องผสมน้ำลงไปในน้ำยางสดอีกจำนวนหนึ่ง (เท่าไหร่ก็ไม่ทราบ เพราะไม่ได้เข้าไปดูขบวนการทำงานของโรงงาน) น้ำที่ผสมลงไปนี้จะทำให้การปั่นง่ายขึ้น
น้ำที่เหลือจากการปั่นนี้ ผมเอามาทดลองทำน้ำหมักดู ว่าจะได้ผลเป็นประการใด ถ้าได้น้ำหมักมาแล้วใช้กับต้นไม้ได้เหมือนกับน้ำหมักจากสิ่งอื่นหรือไม่ ก็ต้องคอยดูกันต่อไป แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากน้ำหมักอื่นๆก็ตรงที่ ในน้ำยาง จะมีแอมโมเนียปนอยู่มาก เพราะได้กลิ่นฉุนๆของแอมโมเนีย เมื่อผสมจุลินทรีย์ในขวดน้ำหมักลงไป จุลินทรีย์ของผม จะทนต่อสภาพ ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สูงๆได้หรือไม่ ก็ยังไม่แน่ใจ ฉนั้นก็ต้องรออีกสักพักหนึ่ง การทดลองนี้อาจจะได้น้ำหมักชีวภาพหรือ เป็นน้ำอย่างอื่นก็ได้ครับ
ถ้าผลการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ของเสียจากโรงงานน้ำยางสด ก็จะเป็นของที่มีค่าขึ้นมาทันที โรงงานไหนจะยอมให้ผมไปเอามาทดลองไหมครับ
- บล็อกของ ลุงพูน
- อ่าน 8497 ครั้ง
ความเห็น
sothorn
25 พฤศจิกายน, 2010 - 20:33
Permalink
น่าสนใจ
น่าสนใจดีครับ หมักเสร็จน่าจะเอาไปทาหน้ายางได้
ลุงพูน
25 พฤศจิกายน, 2010 - 20:40
Permalink
ผู้ใหญ่
น้ำหมักนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อต้นยางครับ
พรุ่งนี้มาตรังอีกครับ
เจ้โส
25 พฤศจิกายน, 2010 - 21:16
Permalink
ลุงพูน
สีเหมือนน้ำนมวัวเลยนะ เอาไปวางไว้ใครไม่รู้นึกว่านม ยกซด ยกซด
garden_art1139@hotmail.com
ลุงพูน
25 พฤศจิกายน, 2010 - 21:18
Permalink
เจ๊โส
ขนาดผสมน้ำตาลแล้ว ยังดูเหมือนกาแฟใส่นมเลยครับ
ข้าวเหม่า
25 พฤศจิกายน, 2010 - 22:31
Permalink
ลุงพูนเนี่ยช่างคิดจริง ๆ
ลุงพูนเนี่ยช่างคิดจริง ๆ เลยค่ะ
ยายอิ๊ด
25 พฤศจิกายน, 2010 - 22:40
Permalink
น่าสนมากค่ะ
ขอให้สำเร็จค่ะ จะลอกด้วยค่ะลุง
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ครองขวัญ
26 พฤศจิกายน, 2010 - 02:15
Permalink
แล้วนมที่หมดอายุแล้ว
แล้วนมที่หมดอายุแล้ว แต่ยังไม่บูดละคะ ทำน้ำหมักอะไรได้บ้าง เพราะมักซื้อนมมาเป็นขวด1.5 ลิตร (ใส่กาแฟและทำขนม)แต่บางอทิตย์ ไม่ค่อยได้ทำขนม
ทำให้นมเหลือเกือบครึ่งขวดหมดอายุ คิดว่าน่าจะนำไปทำอะไรได้บ้างนอกจากเททิ้งค่ะ เห็นลุงพูนพูดเกี่ยวกับการทำน้ำหมักจากนม ลุงพูนมีวิธีใช่ไหมคะ
กุ้งบางบัวทอง
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:15
Permalink
คุณครองขวัญ
ที่บ้านมีนมหมดอายุเป็นประจำเลยค่ะ ทุกครั้งก็เททิ้ง เพื่อนกุ้งบอกว่าเอาผสมน้ำให้เจือจางไว้รดต้นไม้ได้ค่ะ กุ้งก็ลองทำดู พึ่งทำได้ไม่นานนี้เอง ปรากฏว่าต้นไม้ไม่ตาย แต่ก็ไม่ได้งามจนผิดหูผิดตา ยังไงก็ดีกว่าเอาไปเททิ้งค่ะ
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
bnakorn
26 พฤศจิกายน, 2010 - 03:37
Permalink
เข้ามาดูดความรู้จากลุงพูนอีกแ
เข้ามาดูดความรู้จากลุงพูนอีกแล้วครับ ลุงพูนมีความรู้ให้ตลอด ขอบคุณครับ
เรียกง่ายๆว่า ขวัญก็ได้นะครับ my nickname
doephuket
26 พฤศจิกายน, 2010 - 05:07
Permalink
น้ำหมัก
ขอให้สำเร็จครับลุงพูน ไม่รู้เอาไว้พ่นเคลือบหน้าดินได้หรือเปล่าครับเพราะผสมจากยาง(คิดไปเอง)
ว่าออออ นุ่งกางเกงขายาวสาวไม่ชอบพี่น้องเหอ คนถือจอบมาดแมนนั้นแหละแฟนฉาน นะสาวเหอ
หน้า