พืชผักในบ้านสวนพอเพียง : หมักหมก, หมากหมก
ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น "หมากหมก" แต่ผมเรียก "หมักหมก" มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด
ดอกหมักหมก
ต้นหมักหมกในสวนซึ่งผมคาดว่าต้นนี้อายุน่าจะพอๆ กับผม หรือมากกว่าผม
อันนี้ใบแก่นะครับแบบนี้เอามาแกงเลียงไม่ได้
ลูกหมักหมกที่ยังไม่สุก
ลำต้นของหมักหมก
กิ่งหมักหมก
พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง
เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm
หมากหมก
OPILIACEAE : Lepionurus sylvestris Bl.
ชื่ออื่น - ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )
หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 – 2 เมตร ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปยาวรีปลายแหลม หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 –7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม. ดอก ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง ผล กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง ช่อหนึ่งมี 3-5
ผล เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส
ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง ราก(หัว) กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก ทั้งต้น แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ
ยอดและผลอ่อน ใช้เป็นผักแกงเลียง ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น
หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา) จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน ปัจจุบันพบเห็นบ้าง เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )
- บล็อกของ sothorn
- อ่าน 45443 ครั้ง
ความเห็น
จินตนา
11 กันยายน, 2009 - 16:09
Permalink
ขอบคุณคะ ได้รู้จักต้นไม้ใหม่
ขอบคุณคะ ได้รู้จักต้นไม้ใหม่อีกแล้ว
ผลสีแดงสวยมาก แล้วต้นเล็กขนาดนั้น แกงเลียงครั้งเดียวใบคงหายเกือบหมด
sothorn
11 กันยายน, 2009 - 16:17
Permalink
หมักหมก
สวัสดีครับ คุณจินตนา
รูปที่ให้ดูไม่มียอดอ่อนเลยครับ เวลามียอดอ่อนออกมาทีหนึ่งก็จะเก็บเอามาแกงเลียง ใช่ครับได้ครั้งหนึ่งเก็บได้น้อย
ต้องเก็บหลายๆต้น หรือเอาไปรวมกับผักชนิดอื่นครับ
แจ้ว
23 มีนาคม, 2010 - 16:26
Permalink
น่าจะลองตัดกิ่งดู
พี่ลองมาแล้ว ไปเจอในสวนยาง อยู่รวมกันกลุ่มใหญ่เลย กะจะขุดมาใส่ถุง นึกอีกทีกลัวไม่ติด เลยตัดใบแก่ทิ้งไป เข้าไปดูอีกทีออกใบอ่อนมาเพียบเลย ก็ได้นำมาแกงเลียงสมใจอยาก รู้มั๊ยมีจุดเด่นยังงัย ใบหมากหมกใส่ในแกงเลียงจะเขียวตลอดเลย แม้ว่าจะอุ่นรอบสองแล้วก็ตาม...สีสวยน่ากินมาก...
james
13 กันยายน, 2009 - 10:46
Permalink
ขอบคุณสำหรับรูปต้นไม้ครับ
ต้นหมากหมกนี้ ผมเคยเห็นเมื่อตอนเด็กๆ พ่อชี้ให้ดูครับ แต่เพราะยังเด็กจึงไม่ค่อยสนใจอะไร มาปัจจุบันนี้ กลับหาดูไม่ได้แล้วครับ น่าจะแพ้เครื่องตัดหญ้าที่แพร่กระจายเข้ามาสู่วิถีชีวิตแถวบ้านผมอย่างรวดเร็ว
ขอบคุณครับ สำหรับรูปต้นไม้ ทำให้ผมจำได้ว่าแถวบ้านผมก็เคยมีต้นหมากหมกอยู่เหมือนกัน แม้จะไม่เคยลิ้มรสของมันก็ตามที
ขอบคุณครับ
r_choosak
15 กันยายน, 2009 - 10:05
Permalink
แถวบ้านผมไม่มีครับ
แถวบ้านผมไม่มีครับ
บ้านเกษตร.คอม
"พอมี พอกิน พอใช้ พอใจในสิ่งที่มี"
Trangsiam
26 กันยายน, 2009 - 13:03
Permalink
ในสวนยางบ้านผม มีอยู่
ในสวนยางบ้านผม มีอยู่ สองสามต้นได้มั่ง พ่อเว้นไว้ แต่ไม่ได้เก็บใบมากินนานแล้ว ต้นแค่ไหนก็แค่นั้น ไม่โตขึ้นเลย
noknok
5 พฤศจิกายน, 2009 - 13:50
Permalink
หมากหมก
บ้านเราเรียกยอดพูมค่ะ ต้มกระทิใส่มันนิดหน่อย อร่อยอย่าบอกใคร เพิ่งรู้ว่าชื่อ หมากหมก
แจ้ว
4 มกราคม, 2010 - 18:39
Permalink
เพิ่งรู้ว่าชื่อผักพูม
เพิ่งรู้ว่าชื่อผักพูม ประโยชน์ของการเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนกัน ช่วยกันอนุรักษ์ไม้ชนิดนี้ด้วยดีค่ะ
แจ้ว
12 ธันวาคม, 2009 - 13:54
Permalink
หมากหมก
ตอนนี้เริ่มเห็นความสำคัญของหมากหมกแล้ว เดินดูในป่ายาง มีหลายต้น เลยให้แม่ขุดใส่ถุงมาชำไว้หลายต้นแล้ว จากสภาพต้นหมากหมกส่วนมากจะมีตอของต้นหมากหมก เนื่องจากว่าโดนเครื่องตัดหญ้า แล้วมันก็แตกยอดออกมาใหม่ ต้องขุดลึกพอสมควรถึงจะมีชีวิตรอด แสดงว่าเป็นพืชที่ปลูกยาก แต่ก็ตายยากเช่นกัน อายุยืนด้วยนะ ต่อไปจะสร้างสวนสมุนไพรจากป่าค่ะ มีใครสนใจบ้างคะ
อนุรักษ์ผักพูม
3 มกราคม, 2010 - 20:46
Permalink
ปลูกผักพูม
เคยทดลองปลูก วิธีการดูเรื่องผักหวานป่า สระบุรี ได้ผลดีมาก เก็บเมล็ดแล้วอย่าทิ้งไว้หลายวันอัตราการงอกจะน้อยลง
ผักพูมสามง่าม(หมักหมก)กำลังสุกแดงเก็บได้ประมาณ50เม็ดจะทดลองปลูกใต้ต้นไม้โดยไม่เพาะเมล็ดในถุง ได้ผลอย่างไรจะแจ้งข่าว ผักพูมก็กำลังออกดอกประมาณเดือนมีนาคมคงมีเมล็ดให้ขยายพันธ์
หน้า