สงสัยมานานหัวถั่วพูต้มรสชาติเป็นยังไง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     วันนี้ยุ่งอยู่กับเตรียมที่ปลูกผักร่องใหม่ซึ่งเดิมเป็นที่ปลูกถั่วพู พอขุดลงไปก็เจอหัวถั่วพู สมาชิกหลายคนได้นำเสนอเรื่องหัวถั่วพูต้ม ซึ่งล่าสุดก็เป็นบล็อกของลุงพี ซึ่งบล็อกเหล่านี้ทำให้ผมสงสัยเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของการต้มหัวถั่วพูวันนี้

หัวถั่วพูที่ขุดได้

มีใหญ่อยู่ 2 หัว

ลองต้มสองหัวใหญ่นี้ก่อน รูปนี้ต้มแล้วนะครับ

    ตอนแรกก็ไม่ค่อยกล้ากัด แต่ก็ลองไปทีละนิด สรุปว่าอร่อยดีเหมือนกันแฮะ แต่ตอนดิบๆ นี่กินไม่ลงเลย

ความเห็น

อยากลองกินหัวถั่วพูดูว่าอร่อยจริงไหม  ใครมีพันธุ์ถั่วพูยักษ์หรือสีม่วง  บริจาคด่วนด้วยค่าาาาา

น่าทานมากครับ ถั่วพู ผม ไป ไม่ถึงไหน เลย ผู้ ใหญ่ ปลูก ตั้ง แต่ หยอด เม็ดจนได้ ทานฝัก ใช้เวลากี่เดือนนะครับ

เจอคำถามว่ากี่เดือนผมมีปัญหาทุกทีเพราะไม่ได้จด

ต่อไปจะพยายามจดครับพี่ตุ้ย

คุณค่า ถั่วพู ที่มีค่ายิ่ง อยู่ที่ส่วนเมล็ดแห้ง เท่ากับ ดีกว่า ถั่วเหลือง

แต่เนื่องจากเป็นต้นเลื้อย ทำให้การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ทำได้ยากครับ

แต่เป็นพืชผักที่ให้คุณค่ากับคนชนบทสูงมาก

เป็นพืชที่ทุกคนที่บ้านได้ช่วยกัน ปลูก และทำรายได้เจือจุนครอบครัว ตลอดทั้งปี

ถ้าควบคุมเพลี้ยอ่อนได้

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

เพลี้ยอ่อนยังพอถูไก
แต่เจอเพลี้ยไฟ (สี้ส้มๆ ไม่แน่ใจว่าเรียกเพลี้ยไฟหรือเปล่า) จัดการยากมาก
ตัดทิ้งทั้งค้าง

ระบบฉีดน้ำฝอย(หลัก) และแต่งใบช่วยบ้าง(ถ้ามีเวลา ช่วยกัน) ช่วยควบคุมเพลี้ยต่างๆได้กว่า 90% (ดูแลเอง)

เด็กๆ ช่วยแม่เก็บฝักถั่วพูส่วนสูงเกิน(ใช้บันได) และจัดยอดให้เลื้อยลงตาข่าย สูง 3.5เมตร เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง

เป็นพืชผักที่ทำรายได้ จุนเจือครอบครัวได้จริง (พอเพียง)

ปลูกทุกๆ 3เดือน ต่อรุ่น ตอนนี้ปลูกเฉพาะที่บ้านเพราะ สะดวก และใกล้ตลาด ทำให้สด อร่อย ปลอดภัย

แม้จะได้รายได้จากถั่วพู ไม่กี่พันบาทต่อเดือน แต่ก็ได้ทุกๆเดือน ภูมิใจ ทั้งคนซื้อ คนขาย และได้ออกกำลังกาย ช่วยกันทำทั้งครอบครัว

พริกกะเหรี่ยง(พริกหอม) อีก 50-100ต้น (นอกนั้นปลูกผักไว้กินเอง เพราะ เพื่อเป็นการทดสอบวัสดุปลูก)

เวลาเห็น สีดอกถั่วพู ชอบ และภูมิใจมาก ทุกครั้งที่ฉีดน้ำ และเห็นสีดอก ติดฝักก็หายเหนื่อย แม้จะ มีภาระหน้าที่มากมาย 



เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

เกิดมาก็หลายเพลาแล้วเพิ่งรู้จากบล็อกลุงพีเหมือนกันว่าถั่วพูมีหัวกินได้...แล้วถ้าเอาหัวไปปลูก...จะขึ้นเหมือนมันเทศมั๊ย...ใครมีฝากลองหน่อยอาจจะเร็วกว่าเม็ดนะ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

นี่ถ้าไม่ได้บล็อกของผุ้ใหญ่ต้องพิมพ์เป็น "ถั่วพลู"  แน่ ๆ .....พึ่งรู้ว่ามีหัวเอามาต้มกินได้ด้วย...พี่เพาะถั่วพูเอาไว้ยังอยู่ในกระถางเล็ก ๆ ดีที่ได้เก็บข้อมูลจากน้องผู้ใหญ่  พี่จะได้เตรียมกระถางให้ใหญ่ ๆ ซะแล้ว...

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ตอนแรกผมก็เรียก "ถั่วพลู" เหมือนกันแหละครับพี่กุ้ง
โพสถามในเวบ ลุงพูนบอกว่า "ถั่วพู" เพราะมันเป็นพูๆ

ก็เลยต้องเปลี่ยนมาเรียกถั่วพูด้วยประการฉะนี้

ต้องขอโทษด้วยครับที่ลืมบอกวิธีการต้มไว้ในบล๊อกผม ที่ผู้ใหญ่โสขุดมานั้นต้มได้ทั้งหมดเลย หัวเล็กๆประมาณไม่เกินนิ้วชี้จะอร่อยกว่าครับ ส่วนหัวใหญ่กว่านั้นเราจะทิ้งไว้ให้งอกใหม่ครับ (เพราะไม่ค่อยมีรสชาติ) วันที่หมอน้อยมาพบปะสมาชิกที่ กทม. ผมก็เดินทางกลับมาจากราชบุรี ได้พยายามเสาะหาเพื่อที่จะนำมาให้สมาชิกได้ลองชิมกัน แต่ปรากฏว่าหมดฤดูกาลไปซะแล้ว ลองขุดดูที่บ้านก็เริ่มแห้งเป็นท่อนไม้ไปแล้ว

วิธีการต้ม หลังจากนำหัวมาล้างน้ำทำความสะอาดก็นำไปต้มทั้งเปลือกโดยใส่เกลือเล็กน้อย

วิธีรับประทาน ตามที่คุณแซมเคยเล่าเอาไว้ เป็นวิธีที่เด็กๆปฏิบัติกันคือลอกเปลือกออก หักกลางหัวดึงใส้ออกแล้วค่อยทาน ส่วนผู้ใหญ่สามารถทานได้ทันที(หลังจากแกะเปลือกออกแล้ว)

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

หน้า