ส่งการบ้านน้ำหมักลูกยอลุงพูน และพี่ธนนันท์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

หลังจากได้อ่านเรื่องน้ำหมักลูกยอของลุงพูน และสาระพัดน้ำหมักของพี่ธนนันท์ ทำให้ได้แรงบันดาลใจในการปลูกต้นยอ และทำน้ำหมักลูกยอ

พี่เจ๊หนูแหม่มผู้ใจดีได้ความอนุเคราะห์ต้นกล้ายอ ต้องขอขอบพระคุณไว้ที่นี้ด้วยนะครับ ซึ่งตอนแรกพี่เจ๊หนูแหม่มจะให้ต้นเดียว พอเอาเข้าจริงๆ เอามาให้เยอะมาก  ซึ่งผมยังคงอนุบาลต้นยอเหล่านี้ไปอีกสักพักกว่าจะได้เอาไปลงดินที่สวน  และคงต้องรออีกหลายปีกว่าจะได้ลูกยอมาใช้หมัก  แต่นั่นไม่ได้หยุดเรื่องการทำน้ำหมักลูกยอเพราะว่า...เรามีเพื่อนบ้าน..อิ อิ  เมื่อมีโอกาสไปเก็บผัก/ผลไม้จากที่สวนเพชรบุรี จึงขอไปเก็บลูกยอของเพื่อนบ้านกลับมาสัก 4 กิโลกว่า

ส่วนภาชนะที่จะใช้หมัก  ยังไม่กล้าใช้พลาสติกเพราะคิดว่าน้ำหมักเป็นกรด  กลัวว่าจะมีสารจากโหลพลาสติกถูกละลายปนไปในน้ำหมัก  จึงไปหาโหลแก้วแบบของลุงพูน  แต่ราคาโหลแก้วขนาด 5 ลิตรที่หาได้แถวบ้านตั้ง 400 กว่าบาท  จึงเปลี่ยนเป้าหมายไปหาขวดแก้วแทน  ปรากฎว่ามีคนขายขวดไวน์ขนาด 5 ลิตรในราคา 40 บาทต่อขวดเองจึงเปลี่ยนใจไปใช้ขวดไวน์แทน 

สูตรที่จะใช้คือลูกยอ 3 กิโล น้ำตาลทราย 1 กิโล น้ำ 5 ลิตร  ปัญหาแรกคือปากขวดมันเล็ก  เลยเสียเวลาหั่นลูกยอตั้งชั่วโมงกว่าเพื่อยัดเข้าปากขวดไวน์  ผมตัดสินใจหมักแบบแห้งคือยังไม่ใส่น้ำ  ใส่ลูกยอที่หั่นแล้วกับน้ำตาลทรายเท่านั้น

ปัญหาที่สองคือหลังจากใส่น้ำตาลกับลูกยอ  มีน้ำซึมออกมาจากลูกยอเองประมาณสัก 3 ลิตรได้  เอ.. แล้วผมจะใส่น้ำ 5 ลิตรได้อย่างไร  เพราะขวดไวน์ขนาด 5 ลิตรเอง :confused:

ผ่านไป 7 วันลูกยอค่อยๆ ยุบตัวลงมาจนน้ำท่วมเนื้อลูกยอทั้งหมด  มีฟองพอสมควร  จะต้องหมั่นคายเกลียวปากขวดให้แก๊สออกทุกวัน (โดยไม่เปิดฝาขวด) สรุปแล้วผมเติมน้ำเพิ่มได้ไม่ถึง 5 ลิตรตามสูตร (น่าจะเติมไปได้ประมาณ 2 ลิตรเอง)  จะเอาเนื้อลูกยอออกก็ลำบากเพราะปากขวดมันเล็ก  แต่ผมก็เติมน้ำจนใกล้เต็มขวดตามรูปข้างบน

ต้องรออีก 3 เดือนกว่าจะได้น้ำหมักสมบูรณ์  ถึงเวลานั้นคงต้องมาลุ้นกันว่าน้ำหมักจะออกมาเป็นอย่างไร  เพราะใส่น้ำน้อยกว่าสูตร  และไม่รู้ว่าถึงเวลาเนื้อยอจะเปื่อยจนผมจะเอาเนื้อยอออกมาจากขวดได้หรือไม่ :shy:

ความเห็น

ส่วนตัวแล้วถ้าหมักใส่ภาชนะพลาสติกแล้วก็เสียวๆ คงไม่กล้ารับประทานเหมือนกันครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

รอดูความคืบหน้าครับพี่นึก กลับบ้านต้องหามาลองดูบ้างแล้วครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

กำลังลุ้นว่าจะออกมาเป็นอย่างไร  แต่มีความบอกว่าใส่น้ำน้อยไปไม่เป็นไร  ดีกว่าใส่น้ำมากไป

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ผมสงสัยอันตรายจากพลาสติกกับเมล็ดยออันไหนอันตรายมากกว่ากัน ผมใช้โหลพลาสติกแต่ไม่หั่นลูกยอ

พิษในเมล็ดยอที่กลัวๆ กันน่าจะเป็น Ricin ซึ่งในปริมาณน้อย จะใช้เป็นยาระบาย  ในปริมาณมากจะทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง เป็นพิษต่อตับ และไต  ปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมสาร Ricin เข้าไปทางระบบทางเดินอาหารได้ไม่มากนัก  แต่ถ้าเข้าทางกระแสโลหิตโดยตรง หรือผ่านทางการสูดดมจะมีผลรุนแรงกว่ามาก  โดยสาร Ricin ในฟอร์ม dg A จะหยุดยั้งการสร้างโปรตีนของเซลล์ทำให้ไม่มีโปรตีนที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเซลล์

เนื่องจากคุณสมบัติการเป็นพิษกับเซลล์รวมทั้งเซลล์มะเร็ง และเซลล์ของไวรัส ปัจจุบันทางการแพทย์จึงมีงานวิจัยการใช้ Ricin ในการรักษาโรคมะเร็ง  และเอดส์   นอกจากนั้น Ricin ยังเป็นพิษกับแมลงจึงถูกใช้ในการทำยาฆ่าแมลง

ในธรรมชาติจะพบ Ricin ในปริมาณสูงในเมล็ดละหุ่ง  ส่วน ricin ในเมล็ดยอ และ Flaxseed (เมล็ดลินิน  ปัจจุบันมนิยมรับประทาน flaxseed oil แทน Fish Oil เพราะมีสาร Omega 3 ในปริมาณสูง) มีปริมาณน้อยมาก  จึงมีการใช้เมล็ดละหุ่งในการทำยาฆ่าแมลง  แต่ไม่ควรรับประทานเมล็ดละหุ่ง  เพราะมีสาร Ricin ในปริมาณสูงขนาดที่จะเป็นพิษต่อมนุษย์

ส่วนสารพลาสติก และสีที่อาจจะละลายในกรดนั้นเป็นสารก่อมะเร็งเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งจะไม่เห็นผลทันทีแบบ Ricin  ในภาชนะพลาสติกเกรดที่ใช้ทำภาชนะใส่อาหารจะมีสารเคลือบป้องกันไว้ในระดับหนึ่ง   เมื่อโดยการกระตุ้นโดยความร้อน แสง หรือกรด  สารเคลือบจะค่อยๆ เสื่อมไปทำให้สารพิษในพลาสติกละลายเข้าในน้ำที่ใส่ในภาชนะ

เท่าที่ประเมินความเสี่ยงแล้ว เชื่อว่าสาร ricin ในเมล็ดอาจจะเป็นสารออกฤทธิ์บางส่วนในการช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเมื่อใช้ในปริมาณน้อย  แต่พลาสติกเป็นสารก่อมะเร็ง  ผมของเสี่ยงกับอย่างแรกดีกว่า  อีกอย่างการหมักนานๆ จะทำให้ Ricin ไปอยู่ในรูปแบบกรด ricinoleic ที่เสถียรมากกว่า และเป็นพิษน้อยกว่า (จึงมีความเชื่อว่าหากหั่นโดนเมล็ดลูกยอทำให้มีปริมาณ ricin ละลายออกมากกว่าการหมักทั้งลูก  จึงต้องหมักนานอย่างน้อย 3 เดือน  เพื่อให้ Ricin แปลงเป็น Ricinoleic acid เป็นส่วนใหญ่ก่อนนำมารับประมาณ)

อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ  น้ำหมักลูกยอเช่นกัน  ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และต่อเนื่องนานเกินไป :bye:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

อ่านจากคอมเม้นท์พี่แจ้วล่ะที่ว่าถ้าหมักทั้งลูกจะเป็นพิษน้อยกว่า  ใช้เวลาหมักน้อยกว่า แต่...ผมทำไม่ได้  ปากขวดมันเล็กยัดลูกยอทั้งลูกไม่เข้า  จะไปซื้อโหลแก้วก็เสียดายตังค์ :shy:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

วิจัยแล้วเสี่ยง  ประชากรล้นโลก(หมอไม่ตาย)พลาสติกถ้าไม่ใช้ความร้อน.....ห้ามกินคนเดียวถ้าหลายคนไม่เป็นไร

การบ้านต้องผ่านแน่นอนครับ ส่วนขวดสวยดีนะครับ  :admire:

มีคนชมขวด :uhuhuh:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า