เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้แม่ผมเคยเล่าให้ฟัง แม่มีอะไรดีๆเยอะ ทำกับข้าวอร่อย เล่าเรื่องสนุกๆให้ฟัง ที่สำคัญคือความรักของแม่ครับฯลฯ ใกล้จะถึงวันแม่อีกแล้ว แต่แม่จากผมไปนานมากแล้วและผมได้เกริ่นกับคุณอติสัยว่า พอโตเข้าสู่วัยทำงานผมต้องทำสงครามกับความจนอยู่นานมาก มาทำงานกรุงเทพฯได้กลับไปกราบเท้าแม่ปีละครั้งแต่ทุกครั้งจะมีของที่แม่ชอบไปฝากแม่เสมอ ขออนุญาตชื่นชมแม่ก่อนนะครับ
ขอบคุณภาพนี้ได้จากBeauty.yopi.co.th ครับ
ตักแม่ ลูกเคยนอน อ่อนกว่าฟูก
ขาแม่ ลูกเคยหนุน อุ่นกว่าหมอน
หนาวน้ำค้าง พร่างพรำ ฑิฆัมพร
แอบอุทร แม่ละมุน อบอุ่นใจ
รุ่มร้อนผิว คิ้วขมวด ปวดขมับ
มือแม่จับ ศรีษะ พิษกษัย
ค่อยทุเลา เพลาร้อน ลดหย่อนไป
อุณหะไอ มือแม่จับ เลิศสรรพคุณ
จากการร้องขอของคุณอติสัยว่าช่วยเล่าเรื่อง"หัวนายแลง"ใ้ห้ฟังผมก็ยินดีและเต็มใจครับ ก่อนจะเขีัยนผมก็ค้นหนังสือเท่าที่ผมมีและเข้าไปค้นในเน็ตเพิ่มเติมก็พบว่ามีเล่าเรื่องแตกต่างกันไปบ้างแต่ไม่ว่ากัน ฟังๆกันไปเพราะเรื่องมันเกิดมานานมากแล้วตั้งแต่ช่วงพ.ศ.1000 โดยประมาณผมไม่ยืนยันว่าปีไหนนะครับ เพราะมีการสร้างการซ่อมเดีย์พระมหาธาตูหลายครั้ง เมื่อนานๆอย่างนี้เป็นธรรมดาที่จะเพี้ยนกันไปบ้าง แม่เล่าให้ฟังว่า
"เมื่ิ่อมีข่าวการก่อสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุก็มีการบอกบุญ การบอกบุญเป็นความคิดที่เป็นกุศลให้คนอื่นได้ร่วมทำบุญ เศรษฐีที่มีเงินเยอะๆสามรถก่อร่างสร้างวัดได้เพียงลำพังคนเดียวก็จะได้บุญไม่มากเหมือนให้ทุำกๆคนได้ทำบุญกันละเล็กละน้อยครับ มีพ่อค้าทางเรือสำเภาชื่อนายแรง(หรือแลง?เมื่อเป็นการเล่าก็เป็นการยากที่จะยืนยัน)เป็นคนชอบทำบุญและยังมีใจเผื่อแผ่ให้คนอื่นๆได้ทำบุญด้วยไปแวะจอดเรือตรงไหนก็บอกบุญว่าจะมีการสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นครศรีธรรมราชและตนอาสาจะนำเงินที่ชาวบ้านบริจาคไปให้ ชาวบ้านก็บริจากคนละเล็กละน้อย เงินสมัยนั้นคิดว่าคงเป็นเหรียญนะครับ ตอนแม่ยังเล็กเงินที่ใช้เป็นเฟื้องเป็นไพอะไรทำนองนั้น แล้วยุคปีพ.ศ.1000(โดยประมาณนะครับ)ผมจินตนาการไม่ออกว่าเป็นยังไง ตอนที่มาจะเกิดเป็นเก้าเส้งผมเลือนๆครับมาอ่านในเน็ตเขาบอกว่าเรือมีปัญหาต้องแวะจอดซ่อม ตอนนั้นนายแรงมานับเงินที่บริจาคมารวมๆได้เก้าแสนบาท(ยุคปีพ.ศ.1000) และเมื่อจะเดินทางต่อไปนครศรีธรรมราชก็ได้ข่าวว่าพระเจดีย์สร้างเสร็จแล้ว ทำให้นายแรง(ผมว่าน่าจะเป็นแรงนะครับ หมายถึงมีแรง ส่วนแลงผมเปิดพจนานุกรมดู นอกจากหมายถึงศิลาแลงคือก้อนดินที่มาทำรั้วกำแพง อีกคำหมายถึงแมงกินฟัน) ทำให้นายแรงเสียใจมาก ไม่รู้จะทำอย่างไรดี คือคนตั้งใจจะบริจาคเพื่อสร้างเจดีย์ จะเอาไปบริจาคเพื่อสร้างศาลาหรือบ่อน้ำมันผิดวัตถุประสงค์มันบาปมาก คนยกมือขึ้นจบบนศรีษะอธิษฐานทำบุญต่อพระธาตุ(หมายถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า) จึงไม่รู้จะจัดการอย่างไร เอากลับคืนเจ้าของแล้วขอโทษที่รับปากก็ทำไม่ได้อีกเพราะไม่ไ้ด้จดไว้ว่าใครทำบุญเท่าไรอยู่ที่ไหนชื่ออะไร คิดไม่ตกก็ได้นำเงินที่บริจาคมาตากแดดไม่ให้ขี้เกลือขี้สนิมกินทุกวันพอตอนเย็นก็เก็บเช้าก็มาตากใหม่อยู่อย่างนี้ด้วยความตรอมใจ ยาวไปแล้วพักสายตากันก่อนครับ
เป็นภาพขาวดำที่ถ่ายไว้ตอนสมัยนานมาแล้ว ตอนนั้นยังไม่มีถนนชลาทัศน์ ขอแทรกอธิบายความเป็นมาของชุมชนเก้าเสังนิดนึงคงไม่เป็นไรนะครับ เป็นความรู้ที่่น่าสนใจครับ แต่เดิมชุมชนเก้าเสังอยู่ทีบริเวณปลายแหลมสนที่ท่าแพปัจจุบัน สมัยนั้นไม่มีเขื่อนไม่มีไฟฟ้า การจัดการ การขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง จอมพลสฤษ์ มาเยือนสงขลาไปเหยียบเข้าให้เลยสั่งให้ย้ายออกไป ตอนแรกมาพักอยู่บริเวณที่ทหารเรืออยู่ติดกับถนนชลาทัศน์ในตอนนี้เรียกว่าทัพแขก(มีคนอิสลามเยอะ)พอทางการต้องการสร้างเป็นค่ายทหารเรือก็ให้ย้ายต่อไปยังเ้ก้าเส้งในปัจจบัน ไม่มีไฟฟ้าไม่มีถนนไม่มีน้ำประปาในสมัยนั้น อาชีพคือหาปลา ได้มาก็ตากแห้งแมลงวันเต็มไปหมด ผมมีเพื่อนรักและมีบุญคุณกับผมมากอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยจึงพอรู้เรื่องครับ สมัยนั้นเวลาไปเที่ยวก็เดินเรียบชายทะเลที่ทอดยาวมาจากแหลมสมิหราขึ้นไปที่หัวนายแรงได้เลย เป็นก้อนหินวางอยู่เป็นบันไดธรรมชาติ แต่ก็ต้องระวังปัญหาเดิมคือพวกไปถ่ายเรี่่ยราดไว้ตามทางขึ้น แต่ตอนนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำใ้ห้น้ำกัดเซาะชายหาดจะเดินไปตามชายหาดไม่ได้แล้วเพราะเป็นทะเลไปแล้ว ต้องไปขึ้นอีกทาง
มาว่าต่อเรื่องนายแรงครับ นายแรงคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไรกับเงินบริจาค ในเน็ตกล่าวว่านายแรงให้ลูกน้องตัดหัวตัวเองมาวางไว้ที่กองเงินบริจาค จึงกลายเป็นหัวนายแรงในทำนองคนโบราณฆ่าลูกน้องให้เป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ที่แม่เล่าคือนายแรงก็ตากและเก็บเงินนั้นทุกวันจนตายไปกลายมาเป็นหินก้อนใหญ่ที่ตั้งอยู่อย่างหมิ่นเหม่มาหลายปีดีดัก ก่อนตายก็ได้อธิษฐานว่าถ้าเป็นลูกหลานของผู้บริจาคเงินก็ขอให้นำเงินกลับไปได้แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่สามารถเอาเงินไปได้ แม่เล่าว่าเมื่อก่อนมีคนล้วงเข้าไปใต้ก้อนหินกำเงินออกมาดูแล้ววางคืนกลับไปใหม่ แต่มีคนกำเงินออกมาแล้วไม่คืน ต่อมาจึงไม่สามารถไปควานดูเงินได้อีก ผมก็เคยควานดูเมื่อตอนนู้นน่ะครับ แม่ยังเล่าอีกว่าในคืืนเดือนหงายมีคนเห็นคนแก่เอาเงินออกมาตากแสงจันทร์ เรื่องเล่ากันต่อๆกันนะครับก็โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม ไม่ไ้ด้บอกว่าไม่จริงไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องแต่ง สมัยก่อนก็เล่ากันว่าญี่ปุ่นเอาเรือมาลากและใช้ปืนยิงก็คงเป็นสมัยญี่ปุ่นขึ้นที่สงขลา
เหนือเนินเขาเก้าเส้ง
ผมว่าผมจำได้ว่า แม่บอกว่านายแรงเป็นคนเชื้อสายจีนจึงออกเสียงเก้าแสนเป็นเก้าเส้ง ซึ่งเป็นไปได้มากกว่าที่่จะมาเพี้ยนจากเก้าแสนเป็นเก้าเส้งในภายหลัง รุ่นผมก็เรียกเก้าเส้งมาตั้งแต่เล็กๆครับ
ชมวิวเก้าเส้งกันครับ
เป็นบรรยากาศตอนเช้าๆถ่ายกับกล้องตัวเก่าตอนนี้เสียไปแล้ว
อีกภาพนึงครับ
ยังไม่ยาวมากนัก ผมเล่าเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันอีกนิดนะครับ แม่เล่าและปะติดปะต่อจากฟังคนอื่นมาด้วยว่า (ฟังแบบใช้วิจารณญาณนะครับ ) มันอาจจะลักษณะเดียวกับรอยพระพุทธบาทที่พรานยิงกวางบาดเจ็บวิ่งเข้าไปพออกมาไม่มีร่องรอยบาดเจ็บ เรื่องมีดังนี้ครับ การก่อสร้างเจดีย์ทีนครศรีธรรมราช มีการสร้้างแข่งกันระหว่างยักษ์กับเทวดา เทวดาสร้างที่วัดพระมหาธาตุตามที่เห็น ส่วนเจดีย์ของยักษ์สร้างอยู่ที่มีสถานีดับเพลิงอยู่จากท่าม้าเข้าไปท่าวังอยู่ติดๆกับวิทยาลัยอาชีวศึ๋กษานครศรีธรรมราช สร้างแข่งกันไปพอฟ้าเริ่มสางในวันที่เจดีย์ของเทวดาเสร็็จแล้วแต่ของยักษ์ยังไม่เสร็จ ยักษ์โมโหเลยหักยอดเจดีย์แล้วขว้างไปตกแถวๆ ทางไปปากนครผมเรียกไม่ถูกเมื่อหลายปีก่อนแถวนั้นเขาทำนายังมียอดเจดีย์อยู่ในนาผมเห็นกับตา ส่วนล่างฐานเจดีย์ก็อยู่ที่ดับเพลิงใกล้ๆวิทยาลัยอาชีวฯดังกล่าวแล้วเรียกว่าเจดีย์ยักษ์ครับ(ผ่านไปก็แวะดูนะครับ) อีกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องนะครับ สมัยก่อนเมื่อมีการสร้างเจดีย์โดยเฉพาะยิ่งมีการบรรจุพระบรมธาตุจะมีคนนิยมนำของมีค่ามาถวายเป็นพุทธบูชา เช่นแหวนทองคำมากมาย แม่เล่าว่าคนสมัยก่อนตัวใหญ่แหวนของเขาเราเอามาใส่เป็นกำไลได้เลย(มีการเล่าว่าคนจะตัวเล็กลงไปเรื่อยๆจนสอยมะเขือกิน เคยได้ยินกันมั๊ยครับ?) ทีนี้มีการเขียนลายแทงไว้เป็นภาษากูโบส(ถ้าผมจำไม่ผิดนะ) คนที่ไม่เรียนอ่านไม่ออก เช่นเขียนไว้ว่า เมื่อเดินออกจากจุดที่ยืนอออกไปแล้วสิบก้าว ห้ามกลับหลังหันมามามอง ไม่เช่นนั้นจะมีอันเป็นไปฯ ทีนี้พอพวกฝรั่งมันเข้ามาเมืองเรามันไม่เชื่อ มันหันมามองเห็นเป็นซอกหลืบเข้าไป ถ้าไม่ยืนจุดนี้มองไม่เห็น ก็เจอเครื่องประดับทองคำแล้วเขียนไว้ว่าผู้ที่พบทรัพย์นี้เป็นมีบุญหรือมีความรู้อะไรทำนองนั้นให้เอาไปได้ และที่่ปล้องไฉนบนยอดเจดีย์ที่ทำด้วยทองคำก็มีแหวนวงโตๆตามที่กล่าวแล้วแขวนอยู่เต็มไปหมด มีเรื่องเล่าว่าบางคนที่มาใหญ่โตมีอำนาจก็ฉ้อฉลให้ร้านทำปลอมให้เหมือนแล้วเอาของจริงไป ผู้เล่าบอกว่าคนเหล่านั้นพอภายแก่ก็ได้รับทุกขเวทนาเจ็บไข้ได้ป่วยกันไป
ซ่อมปลียอดทองคำประมาณปี2537-2358 สิ้นงบประมาณไป 50 ล้านบาท
ภาพปิดท้ายครับสองภาพหลังนี้เป็นเจดีย์พระมหาํธาตุที่จังหวัดนครศรีํธรรมราชครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมเล่าให้ลูกๆหลานๆฟังนะครับ ผิดพลาดประการใดผมรับผิดในฐานะที่เล่าคลาดเคลื่อนครับ แต่ดีกว่าให้สูญหายตายจากไปครับ ส่วนใครจะเพิ่มเติมหรือแย้งในทุกๆประเด็นผมน้อมรับฟังครับ ขอบคุณแม่ที่เล่าให้ฟัง ขอบคุณท่านอื่นๆด้วยที่ให้ความรู้กับผมรวมไปถึงคุณครูทุกท่านที่สอนผมมาหรือท่านคุยกันแล้วผมได้ยินมาเ่ล่าต่อครับ ขอบคุณคุณโสทรผู้ทำเวบและเพื่อนๆบ้านสวนพอเพียงทุกๆท่านครับ ขอบคุณอติสัยที่กระตุ้นให้ผมเล่าครับ
- บล็อกของ อินเนียร์
- อ่าน 5386 ครั้ง
ความเห็น
ศิรินันท์
2 สิงหาคม, 2012 - 19:55
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณ ค่ะ สำหรับข้อมูล เรื่องราวดีๆ มาโหวตให้ค่ะ
https://www.facebook.com/Sirinanpraewa
อินเนียร์
3 สิงหาคม, 2012 - 06:08
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณศิรินันท์ครับ มาฟังนิทานก่อนใครเลย พาเด็กๆหน้าใสมาฟังกันหลายคนเลยครับ อยากให้เล่าเรื่องเก่าๆให้เด็กฟังกันมากๆแล้วสอดแทรกข้อคิดเข้าไป โตขึ้นจะได้เล่าต่อให้ลูกหลานของเขาฟังครับ ตอนเรายังเล็กๆมีนิทานที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังเยอะ เดียวนี้ไม่เห็นใครเขาเล่ากัน เด็กๆเลยไม่ได้ซึมซับ ตอนนี้ประมาณตี5.55น. มีนิทานสั้นๆของเกาหลี ผมดูแล้วมีแง่คิดดีทางช่อง PBS หรือช่องไอทีวีเก่า แต่เด็กบ้านไหนจะตื่น ผู้ใหญ่บ้านไหนจะดู เขาดูกีฬากัน แข่งกันที่จุดไหนของโลกแล้วสำคัญต่อการดำรงชีพของเราอย่างไร(บ่นอีกแล้ว) ทีจริงผมเตรียมเขียนบล๊อกอีกเรื่องแต่ตำนานหัวนายแรงได้รับการร้องขอก็เลยแทรกเข้ามาก่อนครับ กว่าจะได้ครบสวัสดีค่ะบ้านสวนพอเพียงก็ได้กระโดดออกกำลังกายกันสนุกสนาน
เสิน
2 สิงหาคม, 2012 - 21:58
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
เรื่องนายแรง ผมก็เคยได้ยินมาเหมือนกันครับ แต่เล่าไม่โถก
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
อินเนียร์
3 สิงหาคม, 2012 - 05:54
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณ คุณเสินครับ เรื่องต่างๆกำลังเลือนๆไปเรื่อยๆ หลายเรื่องครับที่ปัตตานีที่เป็นตำนานน่าสนใจ ถ้านำมาเล่ากันบ้างผมว่าน่าจะดีครับ ระหว่างที่มีคนเก่าคนแก่ให้ถามก่อนที่ท่านเหล่านั้นจะจากเราไปครับ ตอนนี้บ้านเมืองเปลี่ยนสภาพไปเรื่อยๆ จนเราต้องมานั่งนึกว่า ตรงนี่แต่ก่อนมันเป็นพันพรื่อ เด็กรุ่นใหม่เองก็ไม่ใส่ใจไม่รักและภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง ทำให้ดำเนินชีวิตไปอย่างไร้ค่าตามๆกันไปครับ
พุทธรักษา
3 สิงหาคม, 2012 - 04:47
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
เรื่องราวน่าสนใจมากค่ะ สถานที่ส่วนใหญ่ในเมืองไทยมักจะมีตำนานที่มาของชื่อสถานที่ ทำให้เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ ขอบคุณคุณอินเนียร์ที่มาเล่าให้ฟัง (กลอน 'ตักแม่' ซึ้งมาก)
อินเนียร์
3 สิงหาคม, 2012 - 05:47
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณ คุณพุทธรักษาครับที่เข้ามาสนับสนุนการเล่าเรื่องเก่าๆที่เป็นตำนานของเมืองสงขลา ฟังแล้วเล่าต่อ เกาะหนูเกาะแมวจะสำคัญอย่างไรถ้าไม่มีตำนาน ก็จะเป็นแค่เกาะเล็กๆไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจแต่อย่างไร ดังนั้นคุณค่ามันอยู่ที่ใจเราครับ
ลุงเริน
3 สิงหาคม, 2012 - 10:24
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณเรื่องเล่าเก้าเส้ง ครับ
ตอนอยู่ระโนดมีคนเล่าให้ฟัง ย้ายไปอยู่ควนกาหลงก็ยังได้ฟังอยู่
แต่เรื่องไม่ค่อยละเอียดเท่านี้
ขอบคุณครับ
อินเนียร์
3 สิงหาคม, 2012 - 19:24
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
อาการของคนแก่ครับ " กินของขม ชมเด็กสาว เล่าความหลัง" แล้วค่อยเข้ามาฟังล่าวน๊า
jeannie
3 สิงหาคม, 2012 - 12:38
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องราวดีๆ ในอดึตมาเล่าให้ฟัง รวมถึงภาพประกอบที่ทำให้อ่านแล้วมองเห็นภาพไปด้วย แล้วเล่าอีกนะคะ
อินเนียร์
3 สิงหาคม, 2012 - 19:21
Permalink
Re: เล่าเรื่องเมืองสงขลาภาค 4
ขอบคุณ คุณjeannieมากครับ อยากให้เผยแพร่ความคิดนี้ไปเยอะๆครับ คุณjeannieเองก็พยายามเล่าเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นตัวเองให้ลูกๆหลานๆฟังนะครับ เด็กๆจะได้ภาคภูมิใจในความเป็นตัวตนของตัวเอง
หน้า