ศุกร์สบาย กับ ไม้มงคล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

 

      Laughing สวัสดีครับทุกท่าน ศุกร์สบายวันนี้มีเรื่องขำนิดๆ พร้อมด้วยสาระความเข้าใจในเรื่องที่มาที่ไปของชื่อต้นไม้บางต้น ที่เราๆท่านๆได้พบเจอ และบางท่านอาจได้ประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วก็เป็นได้  ผมเจอเรื่องนี้ จากหนังสือนิทานธรรมนำให้คิด โดย สูญศูนย์ และมองเห็นว่าเป็นเรื่องราวที่ชวนให้คิด เตือนสติก่อนตัดสินใจซื้อต้นไม้บางต้นได้ จึงได้นำมาฝากเตือนสติกัน  ติดตามเรื่องราวกันเลยครับ

 

พญาวานร หรือ ฮวานง็อก ส่วนด้านขวา ไพลดำ

           ไม้มงคล

    พ่อค้าคนหนึ่งอยู่ภาคกลาง กำลังจะเปิดร้านขายของ จึงเดินทางมาที่วัด พร้อมกับนำกระถางต้นขนุนและต้นมะยมมาให้เจ้าอาวาสเจิมและเขียนคำว่า “อุดหนุน” และ “นิยม” ที่ป้ายชื่อต้นไม้ทั้งสองต้น เพื่อจะนำไปปลูกเป็นศิริมงคลไว้หน้าร้าน เจ้าอาวาสซึ่งมีภมิลำเนาเดิมอยู่ทางภาคเหนือ จึงสอบถามเหตุที่นำต้นไม้ดังกล่าวมาให้เจิม

     พ่อค้าจึงอธิบายให้ฟังว่า ไม้ทั้งสองต้นเป็นไม้มงคล ต้นขนุนชื่อไปใกล้เคียงกับคำว่า ”อุดหนุน” เลยขอให้เขียนป้ายให้ว่า “อุดหนุน” จะได้ช่วยทำให้มีคนมาอุดหนุนมากๆ ส่วนต้นมะยมชื่อไปใกล้เคียงกับคำว่า “นิยม” เลยขอให้เขียนป้ายให้ว่า “นิยม” จะได้ช่วยให้คนนิยมชมชอบ

    เจ้าอาวาส : แต่ที่บ้านอาตมา    คำว่าอุดหนุน หมายถึงปิดกั้นทางที่จะส่งเสริมให้สูงส่งขึ้น และคำว่านิยม หมายถึงหนี้อ่วมนะโยม

                        *****

         สาธยาย

    คำว่า “อุด” ในภาคเหนือบางท้องถิ่นหมายถึง “ปิด”  “ไม่ให้ไหลออกมา” ส่วนคำว่า “หนุน” หมายถึง “ทำให้สูงขึ้น” “ส่งเสริมให้สูงขึ้น”  รวมแล้วคำว่า “อุดหนุน” จึงหมายถึง “ปิดกั้นทางที่จะส่งเสริมให้สูงส่งขึ้น “

    ส่วนคำว่า “นิ” ในภาคเหนือบางท้องถิ่นหมายถึง “หนี้” และคำว่า “ยม” หมายถึง “อ่วม”  “น่วม”  “อ่อนเพลีย” รวมแล้วคำว่า “นิยม” จึงหมายถึง “หนี้อ่วม”

    ดังนั้นแม้แต่คำว่า “อุดหนุน” และคำว่า “นิยม” ที่บางคนบอกว่าเป็นคำที่มีความหมายเป็นมงคลยิ่งนั้น สำหรับในบางท้องถิ่นก็อาจมีความหมายที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่งก็เป็นได้

    บางท่านบางคนมีความหลงเชื่อถือ ยึดถือมงคลจากคำเรียกขานต่างๆมาก ขนาดที่แม้แต่คำบางคำไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกัน แต่บังเอิญไปออกเสียงใกล้เคียงกับคำที่มีความหมายไปในทางที่ดี  เช่น ชื่อต้นไม้ทั้งสองต้นที่กล่าวมา ก็พากันไปยึดถือว่าต้นไม้นั้นๆเป็นไม้มงคล  ทำให้เดี๋ยวนี้ผู้ที่ค้าขายไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ต่างก็พากันตั้งชื่อให้ต้นไม้ต่างๆเสียใหม่  โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีชื่อเดิมไม่เพราะหรือเป็นพันธุ์ไม้ใหม่ๆให้มีชื่อที่เพราะๆ ความหมายดีๆทั้งนั้น เพื่ออาศัยความเชื่อนี้ในการทำมาหากิน

 

ชื่อนั้นสำคัญไฉน? ถ้าต้นไม้มีประโยชน์ มิใช่อยู่ที่ชื่อ ไพเราะเพราะพริ้งมิใช่หรือ?

สวัสดี. 

ความเห็น

เขาตัดความรำคาญน่ะน้องเติ้ล

 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ต้นบนสุดเคยเห็นที่จันทบุรี ต้นใหญ่ออกดอกสวยมากคะชื่ออะไรมิทราบคะ อาจารย์เสิน

ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุขเงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน

ไคร้ย้อยครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

อุดหนุน หมายถึงปิดกั้นทางที่จะส่งเสริมให้สูงส่งขึ้น และคำว่านิยม หมายถึงหนี้อ่วมนะโยม
ชอบมากกกกกกค่ะ หลวงพ่อพูดได้ถูกจริงๆ

คำว่าอุด ทางใต้ก็มีความหมายว่า ทำให้ไม่ให้ไหลออกทางรูเหมือนกัน ผมว่าไม่น่าจะนำไปบวกกับหนุนเลยครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เห็นด้วยค่ะน้าเสินเรื่องชื่อนี่มีผลทางการตลาดอย่างมากเลย บางต้นดูธรรมด๊าธรรมดาแต่เห็นชื่อแล้วทำให้อยากซื้อขึ้นมาเลยค่ะ เช่นพวกไม้ใบตระกูลเศรษฐีเนี่ยเยอะจนจำไม่ไหวเลยLaughing

น้าก็ว่า ถ้าเราไม่ติดกับชื่อ มุ่งเน้นกับประโยชน์ที่เราต้องการ ชื่อก็ไม่สำคัญอีกต่อไปครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เห็นด้วยเลยค่ะลุงเสิน ชื่อของต้นไม้ หรือสรรพคุณอันเลอเลิศ ชวนให้เสียเงินกะต้นไม้มาเยอะเลยค่ะ ต้องโทษตัวเอง555....

ที่คุณเหมียวว่ามาถูกต้องเลยครับ เราตาลุกกับสรรพคุณมหาศาล จึงต้องเสียเงินมากมาย สุดท้ายเราไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

มาแล้วค่ะ--ที่ทำงานดูไม่ได้--ไม่ทราบว่าจะอุดคอมฯไปทำไม--ฮิฮิ-ขอบคุณค่ะพี่เสิน--สอนใจจริงๆค่ะ--อย่างไรก็ตาม บัวริมปลูกต้นขนุนไว้หลังบ้าน5ต้นแล้วค่ะ--(ที่สวนชุมพร)-กำลังโต--ได้ขายแน่นอนค่ะ

หน้า