เขียนโดย sothorn เมื่อ 21 ตุลาคม, 2008 - 07:31
คุณ วริสร รักษ์พันธุ์ เจ้าของขุมพรคาบาน่ารีสอร์ท ประสบปัญหาเศรษฐกิจสมัยฟองสบู่แตก มีหนี้ถึง 300 ล้าน แต่ทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงไปช่วยคุณวริสรได้อย่างไร ติดตามได้จากลิงค์เหล่านี้
แล้วคุณยังคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่คุณไม่อยากรู้อีกหรือเปล่า??
เขียนโดย sothorn เมื่อ 20 ตุลาคม, 2008 - 20:43
จากที่ผมได้นำเสนอ เรื่องการทำสวนยางให้เป็นป่ายาง เพื่อให้มีพืขผักที่สามารถเป็นอาหารได้นั้น ผมไม่ได้เพียงแต่เสนอแนวคิด แต่ผมได้ลงมือทำแล้วครับ สวนยางผม รอบๆ สวนยาง มีมะฮอกกานี เนียง สะเดาช้าง กฤษณา ในสวนยางมีตะไคร้ ข่า โชน และอื่นๆอีกพอสมควร แต่ที่จะนำเสนอวันนี้คือผักเหมียงครับ ที่บ้านมีผักเหมียงอยู่หลังบ้านอยู่แล้ว ผักเหมียงต้นเล็กงอกขึ้นมาเยอะแยะ ผมก็ย้ายมาปลูกในสวนยาง แต่เดี๋ยวครับมารู้จักผักเหมียงกันก่อน ที่ http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/8puk_meang-detail.htm
ขุดผักเหมียงต้นเล็กๆ ออกมา
เขียนโดย sothorn เมื่อ 19 ตุลาคม, 2008 - 20:18
สมัยที่ผมยังเป็นเด็กยังจำได้ว่าสวนยางข้างบ้านซึ่งเป็นของเพื่อนบ้านเป็นยางพันธ์พื้นเมืองต้นใหญ่มาก บางต้นขนาดเท่าหนึ่งคนโอบ และมีความเป็นป่าที่รกมาก นั่นคือจะไม่สามารถมองเห็นต้นยางอีกแถวหนึ่งได้ เพราะรกมาก จะเดินผ่านสวนยางนี้แต่ละครั้งก็น่ากลัวอยู่ซึ่งน่าจะเรียกว่าป่ายางมากกว่า สมัยนั้นจำได้ว่าถ้าพ่อและแม่กลับจากกรีดยางก็จะมีของกินมาให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ป่า หรือจะเป็นพวกเห็นแครง เห็ดจูน นี่คือป่ายางในสมัยนั้น
เมื่อถึงยุคของกองทุนสวนยาง ใครที่ขอทุนจากกองทุนสวนยางเพื่อปลูกยางพันธุ์ดี ต้องทำตามกฏของกองทุนไม่เช่นนั้นจะไม่ได้เงิน ต้องทำป่ายางให้โล่งเตียน ไม้ใหญ่ซักต้นก็ไม่ให้เหลือ ขุดหลุมขนาดเท่านี้เท่านั้น ปลูกอย่างนี้อย่างนั้น ที่สำคัญกองทุนสวนยาง จ่ายปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกร จากป่ายางก็กลายเป็นสวนยาง ในสวนยางไม่มีอะไรที่จะกินได้เลย
เขียนโดย sothorn เมื่อ 19 ตุลาคม, 2008 - 20:11
หลายคนอาจสงสัยหรือไม่ส่งสัยก็แล้วแต่นะครับ ที่ผมเขียนถึงอ.วิวัฒน์ เพราะผมรู้จัก อ.วิวัฒน์ และมีข้อมูลของ อาจารย์อยู่พอสมควร ส่วนท่านอื่นที่มีความสามารถทางเศรษฐกิจพอเพียงคิดว่าคงมีอีกหลายคน แต่ผมยังไม่รู้จักและไม่มีข้อมูล
ตอนที่ผมกลับมาอยู่บ้านใหม่ที่ตั้งใจมาเป็นเกษตรกร นึกถึงตอนนั้นมันมืดแปดด้านเลยครับ ถึงแม้ว่าผมจะเรียนเกษตรมาสมัยเรียนมัธผยม แต่นี่ชีวิตจริง จับต้นชนปลายไม่ถูก
เขียนโดย sothorn เมื่อ 18 ตุลาคม, 2008 - 20:34
เรื่องนี้เรียกว่าเป็นการถอดเทปก็คงไม่ถูกนัก ผมถอดมาจากคลิปวิดีโอ ที่อาจารย์วิวัฒน์พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้นำมาใช้ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง
ที่เราทำที่นี่ก็ได้ความคิดจากพระองค์ท่านมาทั้งหมดเรียกว่า 100% เลย เป้าหมายคือเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงคนเข้าใจว่าไม่ใช้เงิน ที่จริงมันใช้เงิน พระเจ้าอยู่หัวท่านบอกว่า ครึ่งนึงเป็นเศรษฐกิจการค้า คือพึ่งเงิน พึ่งการค้า อีกครึ่งนึงพึ่งเป็นตนเอง แม้ไม่ถึงครึ่งก็ไม่ว่า หนึ่งในสี่พึ่งตนเอง อีกสามในสี่พึ่งการค้า พึ่งเงิน
เขียนโดย sothorn เมื่อ 18 ตุลาคม, 2008 - 19:46
ผมนำเสนอเรื่องของอาจารย์วิวัฒน์เรื่องนี้คงทำให้หลายคนรู้จักอาจารย์วิวัฒน์มากขึ้น ผมดาวน์โหลดเรื่องนี้มาจากเวบไหน ผมจำไม่ได้ ต้องขออภัยเจ้าของเวบด้วยครับ แต่โชคดีที่ในบทความนี้มีชื่อผู้เขียนอยู่ด้วย
คนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
วิวัฒน์ ศัลยกำธร
“เขาไม่ได้เพี้ยน?”
โดย ....พรเทพ สิงห์ธวัช : 1/8/46
เขียนโดย sothorn เมื่อ 18 ตุลาคม, 2008 - 13:30
สมัยที่ อ.วิวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการกองประเมินผลและข้อมูล ในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากประราชดำริ เมื่ออาจารย์ยักษ์ไปสอนชาวบ้านเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แล้วโดนชาวบ้านท้าอย่างไร ที่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาจารย์ยักษ์ลาออกจากราชการ เป็นคำพูดส่วนหนึ่งของอาจารย์ยักษ์ในรายการทีวี
"ที่เจ็บปวดอีกอันคือชาวบ้านท้า เอ้ย คุณเป็น ผอ. คุณพูดยังไงก็ได้ มีเงินเดือนกิน มีรถหลวง น้ำมันหลวง มีจิปาถะ แน่จริงออกมาซิ ออกมาทำอย่างนี้ซิ แล้วทำ ทำเกษตรธรรมชาติ อย่าใส่ปุ่ยอย่าฉีดยานะ แล้วมาปลูกป่าอะไร มาทำซิ ถ้าได้ผลแล้วค่อยมาคุยกันใหม่"
เขียนโดย sothorn เมื่อ 17 ตุลาคม, 2008 - 20:11
ถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ไม่พูดถึง อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือที่ใครๆเรียกกันว่า อาจารย์ยักษ์ ก็เท่ากับว่ายังไม่รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงดีพอ
อาจารย์ยักษ์ รับราชการติดตามในหลวงอยู่ดีๆ ทำไมถึงลาออกมาเป็นชาวนา ติดตามได้จากคำพูดของอาจารย์ยักษ์
"ผมรับราชการเติบโตจนไปเป็นผู้อำนวยการกองประเมินผลและข้อมูล ในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากประราชดำริ แรกๆก็ พระองค์ท่านก็ให้ทำหน้าที่จดบันทึกพระราชดำริแล้วก็เอาพระราชดำริที่บันทึกไว้แล้วประมวลเป็นเล่ม ถวายพระองค์ท่านพอท่านตรวจสอบแล้วว่าใช่ เราก็เอาเรื่องนี้มาทำแผน มาเขียนแผนร่วมกับหน่วยงานที่ท่านรับสั่งด้วย
หน้า